กลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส เปิดตัว ‘MODEL SMS 20R’ โครงการขยายพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง
บริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จํากัด (SOS) หนึ่งในกลุ่มบริษัท บริษัท เอส เอ็ม เอส (SMS Group) เปิดตัว “MODEL SMS 20R” โครงการ ขยายพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง เพื่อแจกจ่ายท่อนพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง พร้อมทั้งเชิญชวนเกษตรกรปลูก พันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง มุ่งหวังลดการระบาดของโรคในพื้นที่และเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมมันสําปะหลังของไทย
นายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานเปิดงาน “MODEL SMS 20R” พร้อมด้วย นายธงชัย โอฬารพัฒนะชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ นางสาวกังสดาล ชาตกุล เกษตรจังหวัดชัยภูมิ ศาสตราจารย์ ดร.เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิจารณ์ วิชชุกิจ ตัวแทนจากมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสําปะหลังแห่งประเทศไทย แขกผู้มีเกียรติ และเกษตรกรเข้าร่วมงาน กว่า 300 คน โดยมี ดร.วีรวัฒน์ เลิศวนวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จํากัด และพนักงานบริษัทฯ ให้การต้อนรับ ภายในงานได้มีการส่งมอบต้นพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลังให้แก่ตัวแทนเกษตรกรจํานวน 10 ราย และเกษตรกรที่มาร่วมงานพร้อมทั้งนําชมแปลงทดลองและขยายพันธุ์ต้านทานใบด่างมันสําปะหลังของบริษัทฯ
ดร.วีรวัฒน์ เลิศวนวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสเอ็มเอส คอร์ปอเรชั่น จํากัด ได้เล่าถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการดําเนินการ โครงการ MODEL SMS 20R เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลังเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้แก่เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาการของโรคทําให้ใบของมันสําปะหลังเกิดเป็นด่าง และยังมีใบลักษณะที่ผิดรูป ส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงและการสะสมอาหารในหัวมันสําปะหลัง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตและเชื้อแป้งที่ลดลงนําไปสู่รายได้ที่ลดลงของเกษตรกร
บริษัทฯได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและมีการติดตามพร้อมทั้งร่วมแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2566 บริษัท สยามควอลิตี้ สตาร์ช จํากัด หนึ่งในกลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส ได้รับการสนับสนุนต้นกล้า X20 พันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง (อิทธิ 1, อิทธิ 2 และ อิทธิ 3) จากมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสําปะหลังแห่งปะเทศไทยจํานวน 133,000 ต้น บริษัทฯจึงได้ดําเนินการแจกจ่ายต้นกล้าดังกล่าวให้กับเกษตรกร จํานวน 21 ราย รวมพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 60 ไร่ นอกจากนี้บริษัทฯได้ดําเนินการจัดทําแปลงทดลองปลูกพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลังเพื่อทําการทดสอบผลผลิตและเพิ่มจํานวนท่อนพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลังเพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย
บริษัทฯ ได้ริเริ่ม MODEL SMS 20R โครงการขยายพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสําปะหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกพันธุ์ต้านทานโรคฯ เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลัง และจากการเก็บผลการทดลองจากแปลงทดลองระบบน้ําหยด พบว่าผลผลิตหัวมันสําปะหลัง
● พันธุ์อิทธิ 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 7 – 8 ตัน/ไร่ เชื้อแป้งเฉลี่ย 25 – 27%
● พันธุ์อิทธิ 2 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3 – 4 ตัน/ไร่ เชื้อแป้งเฉลี่ย 16 – 19%
● พันธุ์อิทธิ 3 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4 - 5 ตัน/ไร่ เชื้อแป้งเฉลี่ย 19 – 22%
ทั้งนี้บริษัทฯ มีแผนส่งเสริมและผลักดันเร่งขยายกระจายสายพันธุ์ต้านทานทั้ง 3 สายพันธุ์ไปยังเกษตรกรให้ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมันสําปะหลังในจังหวัดชัยภูมิ ตามโครงการ MODEL SMS 20R พร้อมตั้งเป้าหมายให้จังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่มีแหล่งพันธุ์มันสะอาดและปลอดจากการระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลังภายใน 5 ปี เพื่อเป็นจังหวัดนําร่องและเป็นตัวอย่างให้จังหวัดใกล้เคียงและจังหวัดอื่นๆ ได้นําไปเป็นแบบอย่างต่อไป
นอกจากนี้ บริษัท สยามควอลิตี้ สตาร์ช จํากัด หนึ่งในกลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส ได้ดําเนินการ “ระบบสมาชิกชาวไร่” (Farmer Membership) มาต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 31 ปี ตลอดจนให้การสนับสนุนและให้ความรู้กระบวนการเพาะปลูก การเพิ่มผลผลิต และการเก็บเกี่ยวหัวมันสําปะหลัง รวมถึงร่วมแก้ปัญหาโรคระบาดมันสําปะหลังมาอย่างต่อเนื่อง เรามีความเชื่อมั่นว่า “การร่วมมือกับเกษตรกรถือเป็นหัวใจสําคัญของ การพัฒนาอุตสาหกรรมแป้งมันสําปะหลังให้เดินไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน ดร.วีรวัฒน์กล่าว
กลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส ก่อตั้งมากว่า 40 ปี เป็นผู้นําในการผลิตแป้งมันสําปะหลังดัดแปรคุณภาพสูงของประเทศไทยและของโลก ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมที่หลากหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเป็นผู้ริเริ่มนําแป้งมันสําปะหลังซึ่งเป็นสินค้าสําคัญทางการเกษตรมาดัด แปรผ่านการวิจัยและพัฒนาด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่แป้งมันสําปะหลัง เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อาหาร ยา กระดาษ สิ่งทอ กาว อาคารและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงพลาสติกชีวภาพ ปัจจุบันกลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส มีโรงงานผลิตแป้งมันสําปะหลังดัดแปรทั้งหมด 3 แห่ง ในจังหวัดปทุมธานี ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ ซึ่งมีกําลังการผลิตรวมประมาณ 400,000 ตันต่อปี กลุ่มบริษัท เอส เอ็ม เอส ในฐานะผู้นําในอุตสาหกรรมยังคงมุ่งเน้นการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชนเพื่อความเติบโตและพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน
12083