ขอความเห็นชอบต่อแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 16 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรี สาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 16 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จํานวน 6 ฉบับ รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมรับรองแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 16 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จํานวน 6 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
สาระสำคัญ
1. แถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนครั้งที่ 16 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จํานวน 6 ฉบับ เป็นเอกสารผลลัพธ์ที่เกิดจากการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน (ASEAN Health Ministers Meeting: AHMM) ครั้งที่ 16 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นแล้วในระหว่างวันที่ 5 - 9 สิงหาคม 2567 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยประเทศไทย ได้แจ้งเห็นชอบในหลักการต่อแถลงการณ์ร่วมทั้ง 6 ฉบับไปก่อนแล้ว โดยที่ สธ. จะดําเนิน กระบวนการภายในประเทศเพื่อร่วมรับรองแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวต่อไป
2. แถลงการณ์ร่วมของการประชุม AHMM ครั้งที่ 16 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จํานวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย
เอกสารผลลัพธ์การประชุม |
สาระสําคัญ เช่น |
|
1. แถลงการณ์ร่วมการประชุม AHMM ครั้งที่ 16 |
● ส่งเสริมนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีสุขภาพดิจิทัลเพื่อปรับปรุงระบบ สาธารณสุขอาเซียน ผ่านการเพิ่มการจัดบริการสุขภาพและอํานวยความสะดวกในการประสานงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิก ● มอบหมายเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาสุขภาพแสวงหาความร่วมมือ กับประเทศคู่เจรจาและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในด้านการพัฒนาสาธารณสุขอาเซียน |
|
2. แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนกับประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) |
● ใช้กลไกของอาเซียนกับประเทศบวกสามให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการกับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพและเสริมสร้างระบบสุขภาพในบริบทของการระบาด ในอนาคต ● สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาร่วมกันในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อจัดการประเด็นสําคัญทางสุขภาพในภูมิภาค (การพัฒนาวัคซีน การรักษาและการตรวจวินิจฉัยโรค) |
|
3. แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ครั้งที่ 9 |
● เน้นย้ำถึงความจําเป็นในการลงทุนกับระบบสุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยี เพื่อความสําเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเพื่อทําให้มั่นใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ● เพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่ (เสริมสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า การแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องและทันสมัย) ● ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสุขภาพดิจิทัลเพื่อปรับปรุงการให้บริการด้านสุขภาพ (การบริการการแพทย์ทางไกล การใช้ AI มาช่วยในการวิเคราะห์และพยากรณ์โรค) |
|
4. แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 2 |
● มุ่งมั่นพัฒนาด้านสาธารณสุขของอาเซียนในบริบทใหม่ ที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดูแลสุขภาพ ผ่านการสนับสนุนการจัดทําข้อมูลด้านสุขภาพที่อ้างอิงกับระบบสารสนเทศด้านสุขภาพในท้องถิ่นของเกาหลีใต้ ● เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับเกาหลีใต้ให้แข็งแกร่งขึ้น โดยการเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างกันและการจัดสัมมนาระหว่างอาเซียนและเกาหลีใต้เป็นประจํา |
|
5. แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการคลังและกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 2 |
● มุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถด้านสุขภาพและการเงินเพื่อจัดการกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขผ่านการจัดตั้งกองทุนเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉิน โดยการให้เงินสนับสนุน การวิจัยและพัฒนายา วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์สําหรับการรับมือกับโรคระบาด ● มอบหมายคณะทํางานด้านการคลังและสาธารณสุขอาเซียนสร้างสมดุลระหว่างการจัดการด้านการเงินของรัฐกับการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน |
|
6. แถลงการณ์ร่วมการประชุมพิเศษรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา |
● มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา เพื่อรับมือกับภัยคุกคามด้านสุขภาพในภูมิภาคและพัฒนาระบบสาธารณสุข ● ยกระดับความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา ผ่านการจัดประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนและสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ (ปัจจุบันยังเป็นการประชุมพิเศษ โดยไม่ได้จัดประชุมเป็นประจําทุกวาระการประชุม AHMM) |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 5 พฤศจิกายน 2567
11122