หมวดหมู่: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ

BDEจัดสัมมนา


BDE จัดสัมมนา Digital Inclusion เดินหน้าพัฒนาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ผ่านแบบจำลอง MODEST วิเคราะห์ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและประเมินผลนโยบายดิจิทัล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งอนาคต แก้โจทย์ความเหลื่อมล้ำสังคมดิจิทัล

30 มกราคม 2025Thailandplusเศรษฐกิจ

วันที่ 29 มกราคม 2568 นางอำไพ จิตรแจ่มใส รองเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาโครงการสู่การพัฒนาการวิเคราะห์ภูมิภาคอาเซียน การพัฒนาแบบจำลอง MODEST เพื่อวัดผลกระทบของดิจิทัลต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ กว่า 200 คน เข้าร่วม ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ กรุงเทพฯ

นางอำไพ จิตรแจ่มใส รองเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า BDE ได้เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจดิจิทัล ปี 2567 ขยายตัว 5.7% คิดเป็น 2.2 เท่า ของ GDP โดยรวม มูลค่ารวม 4.44 ล้านบาท สะท้อนเศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) ได้เห็นถึงความสำคัญ จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนาแบบจำลอง MODEST เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนเชิงนโยบายที่มีเป้าหมายในการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลต่อเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล

โดยแบบจำลองนี้ ออกแบบมาเพื่อช่วยผู้กำหนดนโยบายในการพิจารณาแนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่เหมาะสม มีความมุ่งหวังว่า แบบจำลอง MODEST จะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนในการประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล และเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับเป้าหมาย อาทิ การเสริมสร้างการเข้าถึงดิจิทัล การส่งเสริมบริการดิจิทัล และการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

สำหรับ โครงการดังกล่าว ได้มีการพัฒนาฐานข้อมูลที่ครอบคลุมสำหรับรองรับการดำเนินงานของแบบจำลอง โดย ‘MODEST Model’ เป็นแบบจำลองระดับมหภาค ข้อมูลหลักที่ใช้ประกอบด้วย ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตดิจิทัลจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) บัญชีรายได้ประชาชาติจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDC)

และข้อมูลรายได้จากภาษีจากกรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต สำหรับ ‘Micro-MODEST Model’ ซึ่งเป็นแบบจำลองระดับจุลภาค ใช้ข้อมูลจาก Thailand Digital Outlook การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคม การสำรวจแรงงาน และสำมะโนอุตสาหกรรมและธุรกิจ รวมถึงข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนและการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง แบบจำลองนี้ จะสามารถรองรับการวิเคราะห์ผลกระทบเชิงนโยบายในมิติที่หลากหลาย ทั้งในด้านการค้าเสรี การไหลเวียนทางดิจิทัล และปัจจัยเชิงภูมิภาคอื่นๆ ได้อีกด้วย

สำหรับ เครื่องมือเพื่อใช้ในการประเมินผลกระทบของนโยบายดิจิทัลดังกล่าว ได้แก่ แบบจำลอง Ministry of Digital Economy and Society of Thailand (MODEST) และแบบจำลอง Micro-MODEST ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากนโยบายดิจิทัล

ควบคู่ไปกับการแสดงภาพการเปลี่ยนแปลงของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล BDE ได้เปิดเผยผลการศึกษาเชิงเทคนิคในการทดลองประเมินผลลัพธ์ของนโยบายด้านดิจิทัลผ่านฉากทัศน์ 3 รูปแบบ ประกอบด้วย

ฉากทัศน์ 1 การเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลของครัวเรือน จำนวน 1.2 ล้านครัวเรือนในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่ขาดแคลนอุปกรณ์ดิจิทัลและการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เพื่อให้มีอุปกรณ์และการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้

ฉากทัศน์ 2 การเพิ่มทักษะดิจิทัลของแรงงาน จำนวน 6.97 ล้านคนในกลุ่มครัวเรือนในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยเพื่อให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในการทำงานที่ตนเองทำอยู่

ฉากทัศน์ 3 การเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อให้เกิดการเติบโตของมูลค่าอุตสาหกรรมที่ร้อยละ 12 ตามเป้าหมายของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับปรับปรุง

โดยเมื่อพิจารณาจากผลการวิเคราะห์แบบจำลองในฉากทัศน์ 3 พบว่า หากมีการลงทุนในภาคเศรษฐกิจดิจิทัลที่ทำให้มูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลของไทยเติบโต ร้อยละ 12 โดยที่การเข้าถึงเทคโนโลยีและทักษะดิจิทัลของประชากรยังคงอยู่ในระดับเดิม ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจะทวีความรุนแรงขึ้น อันเป็นผลมาจากการที่รายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้สูงเติบโตรวดเร็วกว่ากลุ่มผู้มีรายได้น้อย ถึงแม้ว่าจะช่วยให้ GDP ของประเทศเติบโตได้ ร้อยละ 5.44 ก็ตาม

ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์แบบจำลอง ในฉากทัศน์ 1 และ 2 ชี้ให้เห็นว่า การขยายการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาทักษะดิจิทัลอย่างทั่วถึง สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ พร้อมกับเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ถึงแม้ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในฉากทัศน์ทั้งสองอาจไม่สูงมากนัก (GDP เติบโตร้อยละ 0.26 และ 0.22 ตามลำดับ) แต่ในความเป็นจริง

สถานการณ์ภายใต้ฉากทัศน์ทั้งสอง มีโอกาสที่จะสร้างการเติบโตได้มากขึ้น เพราะทั้งการขยายการเข้าถึงเทคโนโลยีและการพัฒนาทักษะดิจิทัล สามารถเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของเศรษฐกิจโลกได้

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!