รพ.อาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นเนล ลงนาม บ. พรีบิลท์ จํากัด (มหาชน) เปิดตัว VISTA NEO MED โรงพยาบาลวิถีใหม่สำหรับอนาคต
นายอภิวัฒิ อุไรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RSU International Hospital – RIH เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยรังสิตมีจุดเริ่มต้นมาจากธุรกิจกลุ่มโรงพยาบาลเครือพญาไทเมื่อ 30-40 ปีก่อน หลังจากนั้นได้มาสร้างมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อเป็นการเสริมสร้างบุคคลากรทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค โรงพยาบาล อาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นเนล ได้จัดพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างหลักกับบริษัท พรีบิลท์ จํากัด (มหาชน) และสัญญาว่าจ้างระบบสัญจรแนวดิ่งกับบริษัท โคเน่ จำกัด (มหาชน) ในวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต
พร้อมทั้งคณะผู้บริหารของแต่ละองค์กร ภายในงานจัดให้มีพิธีลงนามสัญญา และนำเสนอแนวคิด VISTA NEO MED โรงพยาบาลวิถีใหม่สำหรับอนาคต โดย ดร. เกชา ธีระโกเมน โรงพยาบาล อาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นเนล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ดูแลผู้ป่วยด้วยการสร้างคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร Indoor Environmental Quality (IEQ) ที่เหนือกว่าข้อกำหนดตามมาตรฐานเพื่อการบำบัด ฟื้นฟูสุขภาพ และสุขภาพที่ดี เป็นการออกแบบอาคารอัจฉริยะที่เลียนแบบร่างกายมนุษย์ที่เป็นรูปแบบอุดมคติของโรงพยาบาล วางทิศอาคารอย่างถูกต้อง และวางแกนอาคารเป็น 2 แกนที่สนับสนุนกัน มีระบบบริการที่สำรองเป็น 2 ระบบ วางอุปกรณ์ที่มีเสียงและการสั่นสะเทือนไว้ที่อาคารจอดรถแยกออกอาคารหลัก ทิศทาง
การนำอากาศเข้า ออกอยู่ในทิศทางตรงกันข้าม แยกพื้นที่และทางเดินการซ่อมบำรุงออกจากพื้นที่บริการทางการแพทย์ มีเพดานสูงเพื่อลดลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคในระดับการหายใจ นอกจากการออกแบบเพื่อให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐานโรงพยาบาลสากล JCI, AACI และ ANSI/ASHRAE/ASHE 170-2021: Ventilation of Health Care Facilities Standard ที่เป็นมาตรฐานขั้นสูงโรงพยาบาล RIH ยังออกแบบด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยดด้านต่าง ๆ “After COVID 19 Design” ดังนี้ 1. นวัตกรรมการปรับอากาศและระบายอากาศ นอกจากการออกแบบให้มีความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสบาย และการกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค และรักษาความสะอาดของอากาศ เสริมด้วยนวัตกรรมการปรับอากาศและระบายอากาศแบบเฉพาะห้อง (Localized Target Air-conditioning) เพื่อป้องกันการแพร่ข้ามของเชื้อโรคระหว่างห้อง ภายในห้องควบคุมทิศทางการไหลของอากาศ ควบคุมความดันของห้อง ปลอดระบบท่อลมและการสะสมเชื้อรา และฆ่าเชื้อโรคในอากาศด้วย
แสง UV สำหรับห้องตรวจ, ICU เป็นต้น ห้องเพดานสูงช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคในอากาศและความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคทางอากาศ ระบบการปรับอากาศของห้องพักผู้ป่วย เป็นแบบควบคุมทิศทางการไหลของอากาศจากหน้าห้องไปยังหลังห้องเพื่อป้องกันการปะปนกับอากาศจากห้องน้ำที่เป็นมลภาวะ และระบายอากาศทิ้งจากห้องน้ำออกสู่ภายนอกอาคารโดยตรงเป็นอิสระแต่ละห้อง เพื่อรับประกันคุณภาพความสะอาดของอากาศที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ 2. นวัตกรรมการออกแบบระบบสุขาภิบาล การออกแบบให้ระบบท่อน้ำเสียส่วนใหญ่อยู่นอกพื้นที่ปรับอากาศ เพื่อ
ป้องกันการแพร่ของเชื้อโรคในระหว่างการซ่อมบำรุงระบบท่อน้ำเสีย และใช้หัวระบายน้ำพื้นที่มีคุณสมบัติป้องกันกลิ่น เพื่อป้องกันปัญหาห้องน้ำที่มีกลิ่นเหม็น และเชื้อโรคจากหัวรับน้ำทิ้ง 3. แสงธรรมชาติ มีการจัดให้แสงธรรมชาติเข้ามาสู่พื้นที่ภายในอาคารให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นประโยชน์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อารมณ์ การนอน และการฟื้นไข้ของผู้ป่วย ห้องพักผู้ป่วย ออกแบบให้ห้องน้ำติดผนังภายนอกอาคารเพื่อให้ห้องน้ำได้แสงธรรมชาติ ภายในห้องออกแบบให้บริเวณเตียงผู้ป่วยมีระดับแสงธรรมชาติที่เหมาะสมกับการพักผ่อน และไม่ได้ถูกรบกวนจากแสงจ้าและความร้อน 4. การออกแบบเพื่อความรักในชีวิต ออกแบบพื้นที่ต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติ ให้ผู้ป่วย ผู้ใช้บริการ รวมทั้ง
บุคคลากรทางการแพทย์เข้าถึงพื้นที่สีเขียว เพื่อช่วย การบำบัดด้วยธรรมชาติ จิตใจ อาการซึมเศร้า โดยมีสัญลักษณ์ของอาคารที่เป็นจุดเด่นคือ “หอสุริยประทีป” บริเวณหน้าทางเข้าอาคาร ที่ประกอบด้วยสวนยกระดับที่เป็นพื้นที่สีเขียว ที่สามารถมองเห็นได้ทั้งจากในและภายนอกอาคาร หอนี้ยังช่วยบำบัดมลภาวะทางอากาศจากถนน และเป็นดวงปทีปแห่งชีวิตที่ให้ความสว่างในยามค่ำคืน 5. พร้อมรองรับเทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต รูปแบบของอาคาร
ปลอดการสั่นสะเทือน และระบบปรับอากาศแบบเฉพาะพื้นที่ (Localized Target Air-Conditioning) ทำให้สามารถรองรับเทคโนโลยีการรักษาในอนาคตด้วยเครื่องมือแม่นยำสูง หุ่นยนต์ และการรักษาแบบมุ่งเป้า “Patient Centric” โดยให้บริการทางการแพทย์ที่เข้าถึงผู้ป่วยจากแกนอาคารแนวรัศมีที่มีก้าวเดินน้อยที่สุด 6. การออกแบบเพื่อความยั่งยืน อาคารได้รับการออกแบบตามมาตรฐานอาคารเขียวในระดับทอง เช่น TREES, LEED, WELL Standards และเป็นอาคารอนุรักษ์พลังงาน เป็นอาคารที่มีการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ ออกแบบเพื่อส่งเสริมวิธีการก่อสร้างจากโรงงาน (Factory Build) ลดขยะจากการก่อสร้างตามหลักการ Circular Economy เพื่อให้มีผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด 7. พร้อมรองรับภัยพิบัติ “After COVID 19 Design” รวมถึงการวางผังชั้นที่ 15 สำหรับ EID-Emerging Infectious Disease เพื่อรองรับผู้ป่วยโรคระบาด โดยมี
ความดันอากาศของห้องที่ควบคุม บวกหรือลบได้, ศูนย์ผู้ป่วยฉุกเฉิน และศูนย์อุบัติเหตุ, ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยที่ทุกชั้นของอาคารแบ่งเป็นพื้นที่ป้องกัน 2 พื้นที่ (Defend in Place), ระบบไฟฟ้าสำรอง, ระบบป้องกันน้ำท่วม, การป้องกันฝุ่น PM2.5 โรงพยาบาลที่จะให้บริการทางการแพทย์ได้ครบถ้วน เทคโนโลยีที่สูงขึ้นไปสามารถรองรับความเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ได้ของประเทศไทย มี 280 เตียง สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้ประมาณวันละ 3000 กว่าคน ผู้ป่วยในประมาณ 300-400 คนต่อวัน งบประมาณการลงทุนการลงทุนประมาณ 7000-7500 ล้านบาท นอกจากการให้ความสำคัญกับนวัตกรรมภายในอาคาร โรงพยาบาล อาร์เอสยู อินเตอร์เนชั่นเนล ยังตระหนักถึงการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมที่สะท้อนเอกลักษณ์ไทย
อย่างวิจิตร ผสมผสานนวัตกรรมทางการแพทย์ระดับสากล เพื่อยกระดับภาพลักษณ์การแพทย์ไทยสู่เวทีสากลทางการแพทย์ไทยสู่สากล โดย ผศ.ชูเกียรติ แซ่ตั้ง กล่าวว่า โรงพยาบาลที่มีจุดเริ่มต้นของแนวความคิดมาจาก “ผู้ใช้บริการ” เป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบ “Patient First” หรือ แนวความคิดที่คำนึงถึง ผู้ใช้บริการ เป็นอันดับแรก คือหัวใจสำคัญของการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของโรงพยาบาล RIH ที่มีความมุ่งหวังให้โรงพยาบาล RIH จะไม่เป็นสถานที่ที่เพียงแต่รักษา “กาย”ของผู้ใช้บริการเท่านั้น หากแต่จะเป็นสถานที่รักษา “จิตใจ” เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ของไทย โดยแนวคิด “Patient First” ครอบคลุมในทุกมิติของการออกแบบ อาทิ สุขภาวะของผู้ใช้บริการ (Patient Well-being) : โดยใช้สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing Environment) การออกแบบโรงพยาบาล RIH มี
ความมุ่งมั่นที่จะใช้ประโยชน์จากทัศนียภาพและแสงธรรมชาติ ให้มากที่สุด เนื่องจากผลการวิจัยที่พบว่า ทัศนียภาพที่ดีและแสงธรรมชาติที่พอเหมาะ มีผลต่อการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบที่เชื่อมโยงธรรมชาติ (Biophilic Design) เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ หรือ Well-Being ของผู้อยู่อาศัยให้ดีขึ้น ผ่านงานออกแบบที่ให้ธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร
และพื้นที่โดยรอบ มีผลการวิจัยที่เปิดเผยว่าพื้นที่ธรรมชาติช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคร้าย และช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพจิตที่ดี ภายในโครงการโรงพยาบาล RIH มีการจัดสรรพื้นที่สีเขียวตามจุดต่าง ๆ อาทิเช่น ดาดฟ้า ระเบียง โดยมีจุดเด่นอยู่ที่สวนภายในอาคารขนาดใหญ่ ที่มีความสูงถึง 5 ชั้น โดยมีชื่อเรียกว่า “หอสุริยประทีป” เพื่อให้ผู้ใช้บริการตลอดจนบุคลากรทางแพทย์ได้มีสถานที่ที่สามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ภายในโครงการ อีกทั้งยังแบ่งปันทัศนียภาพที่สวยงามให้แก่ชุมชนและผู้สัญจรผ่านไปมาได้อีกด้วย ความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ (Patient Safety) : โดยมีออกแบบรองรับการป้องกันอัคคีภัย (Fire Safety) โดยแยกองค์ประกอบที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอาทิเช่น ที่จอดรถ ,ห้องเครื่องงานระบบ ออกจากอาคารหลักที่เป็นอาคารโรงพยาบาลเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัยภายในอาคารโรงพยาบาล โดยที่ระบบป้องกันอัคคีภัยของอาคารโรงพยาบาลถูกออกแบบภายใต้แนวคิด “Defend in Place” มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น Compartment เพื่อควบคุมความเสียหายและเพิ่มเวลาในการอพยพให้มากยิ่งขึ้น รวมถึง
การออกแบบแบบโมดูลาร์ (Modular Design) ในบริเวณพื้นที่ทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาล อาทิเช่น ห้องตรวจ ห้องหัตถการ ห้องพักผู้ใช้บริการ ออกแบบภายใต้แนวคิดแบบ Modular Design ซึ่งทุกห้องจะมีรูปแบบการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องมีรูปแบบเดียวกันทุกห้อง เพื่อลดความสับสนในการปฏิบัติงานของบุคลาการทางแพทย์ (Human Error) ซึ่งต้องแลกกับการลงทุนด้านงานระบบที่มากขึ้นเป็น 2 เท่า จากระบบปกติ ประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ (Patient Experience) : โดยใช้การออกแบบที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นไทย การบริการอย่างไทย (Thai Hospitality) เป็นอัตลักษณ์ที่สร้างชื่อเสียงและการยอมรับจากนานาชาติ ด้วยการเล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของเอกลักษณ์ความเป็นไทย การออกแบบราย
ละเอียดต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล RIH จึงนำเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทย นำมาคลี่คลายประยุกต์ใช้ในส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่สอดรับเข้ากันกับการให้บริการทางการแพทย์ของไทย ช่วยส่งเสริมการรับรู้และสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจของผู้ใช้บริการ อันจะเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ ในระดับสากล หมุดหมายอันเป็นเอกลักษณ์ (The Iconic Landmark) : แนวคิดในการออกแบบเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม ได้นำเอกลักษณ์ของ “เส้นจอมแห” ซึ่งเป็นเส้นโครงร่างหลักของสถาปัตยกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาคารทรงสูง ประเภท เจดีย์ ปรางค์ หรืออาคารที่มียอดพุ่งสูงขึ้นด้านบน นำเส้นจอมแห ผสาน เส้นรัศมีดวงอาทิตย์ อันมีที่มาเชื่อมโยงถึงตราประจำมหาวิทยาลัยรังสิต มาเป็นองค์ประกอบของ Façade อาคาร และมีการติดตั้งไฟประดับอาคารเพื่อขับเน้นเส้นสายของ Façade ในเวลากลางคืน เพื่อให้
อาคารมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เปี่ยมด้วยคุณค่า แฝงไว้ซึ่งความหมาย และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แก่สถาปัตยกรรมทางการแพทย์อีกด้วย ด้วยวิสัยทัศน์ในการออกแบบเพื่อผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ โรงพยาบาล RIH จึงเตรียมพร้อมที่จะยกระดับสถาปัตยกรรมทางการแพทย์ไทยสู่ความเป็นมาตรฐานสากล โดยสอดคล้องกับการทำงานทางการแพทย์, อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และนวัตกรรมโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางเข้าด้วยกัน โดย คุณวิโรจน์ เจริญตรา ประธานกรรมการ บริษัท พรีบิลท์ จํากัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ก่อสร้างหลักโครงการ One Bangkok, กลุ่มอาคาร Mixed Use ที่อัจฉริยะที่สุด และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จะเป็นผู้รับผิดชอบลงนามสัญญาการก่อสร้างหลักโรงพยาบาล RIH ที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับมาตรฐานการก่อสร้างที่จะสามารถสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ภายใต้ความร่วมมือกับ บริษัท โคเน่ จำกัด (มหาชน) โดยคุณเพ็ญไพสิฐ จันทร์พรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเน่ จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมลิฟต์และบันไดเลื่อนระดับโลก เพื่อนำร่องโซลูชัน KONE JumpLift™ ในสถานพยาบาลเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ความร่วมมือครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ ประหยัด
พลังงาน และมีความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างสูงสุด โดย KONE JumpLift™ จะใช้ช่องปล่องลิฟต์ถาวรของอาคารสัญจรในอาคารระหว่างก่อสร้างแทนการใช้ลิฟต์ยกขนส่งภายนอก ซึ่ง KONE JumpLift™ จะเคลื่อนที่สูงขึ้นไปพร้อมกับการก่อสร้างอาคารทีละชั้น จึงช่วยให้โรงพยาบาลฯ สามารถใช้ลิฟต์โดยสารระหว่างการก่อสร้างเพื่อขนส่งพนักงาน เครื่องมือ และอุปกรณ์ก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา และปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การอำนวยความสะดวกและมอบการเดินทางในอาคารที่ปลอดภัยให้กับผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และผู้มาใช้บริการโรงพยาบาลฯ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อยกระดับการสัญจรแนวดิ่งภายในโรงพยาบาลฯ โคเน่จึงได้รับการแต่งตั้งให้นำโซลูชัน KONE People Flow ที่ชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการอำนวยความสะดวกในการเดินทางภายในอาคาร และเลือกใช้ลิฟต์รุ่น KONE DX Class ลิฟต์โดยสารดิจิทัลชุดแรกของโลกที่มี Built-in Application Programming Interfaces (API) แบบเปิดในตัว ช่วยให้โรงพยาบาลฯ สามารถปรับแต่งบริการ
และเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้ และจัดการและบูรณาการแอปพลิเคชันหรือระบบต่าง ๆ เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานของอาคารโรงพยาบาลให้เป็นเรื่องง่ายและปลอดภัย โดยลิฟต์โดยสารดิจิทัลช่วยยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ อาทิ หุ่นยนต์สำหรับจัดส่งเวชภัณฑ์ หุ่นยนต์จัดส่งเอกสาร และแม้กระทั่งหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ป่วยได้อย่างครบครัน เพราะทุกวินาทีมีค่า การเลือกใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ KONE 24/7 Connected Services หรือระบบบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยเฝ้าระวังการทำงานของลิฟต์โดยสารและบันไดเลื่อนตลอด 24 ชั่วโมง จึงช่วยสนับสนุนการส่งมอบบริการทางแพทย์ให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นอย่างยิ่ง เพราะระบบบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์นี้
สามารถตรวจสอบสภาพของลิฟต์ได้แบบเรียลไทม์ คาดการณ์การเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และแก้ไขข้อบกพร่องทันทีก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อการให้บริการ มี 280 เตียง สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้ประมาณวันละ 3000 กว่าคน ผู้ป่วยในประมาณ 300-400 คนต่อวัน งบประมาณการลงทุนการลงทุนประมาณ 7000-7500 ล้านบาท ทำเลบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ติดถนนใหญ่ ความพิเศษคือโรงพยาบาลได้รับการสนับสนุนจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีปรสบการณณ์รวมถึงทีมบริหารที่มีประสบการณ์ในการบริหารโรงพยาบาลเอกชนทั้งโรงพยาบาลพญาไท และหลากหลายที่ บำรุงราษ กรุงเทพ มาช่วยกันสร้างเสริมความ
แข็งแกร่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ไปได้ กำลังจะเริ่มก่อสร้างเร็วๆนี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2570 เจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายต่างชาติ 30 -40% กลุ่ม CLMV เอเชีย และยุโรป ที่เหลือจะเป็นกลุ่มลูกค้าคนไทย 60-70% ซึ่งช่วยลดเวลาหยุดการทำงานของลิฟต์ในโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี