ร่างกฎกระทรวงการชดเชยความเสียหายจากการดําเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการชดเชยความเสียหาย จากการดําเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดําเนินการต่อไปได้
สาระสําคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการชดเชยความเสียหายให้แก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลซึ่งได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มีสาระสําคัญ ดังนี้
ประเด็น |
รายละเอียด |
|
1. นิยาม |
||
ผู้เสียหาย |
● บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือทรัพย์สิน เนื่องจากการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในการเฝ้าระวังป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด |
|
ค่าทดแทน |
● เงินที่ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเพื่อเป็นการชดเชยความเสียหาย |
|
ผู้มีอำนาจกำหนดค่าตอบแทน |
● ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในเขตท้องที่รับผิดชอบของตน ● รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในตําแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด (เดิม เป็นหน้าที่และอำนาจคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร) |
|
2. การขอรับค่าทดแทน (ดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก) |
||
เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อรายงานผู้มีอำนาจกำหนดค่าทดแทน |
● กรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าความเสียหายเกิดจากการดำเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อรายงานต่อผู้มีอำนาจกำหนดค่าทดแทนภายใน 7 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น |
|
ผู้เสียหายยื่นคำขอ |
● ให้ผู้เสียหายยื่นคําขอรับค่าทดแทนต่อผู้มีอํานาจกําหนดค่าทดแทนได้ภายใน 90 |
|
3. ผู้มีอำนาจกำหนดค่าตอบแทน |
||
อำนาจและหน้าที่ของผู้มีอํานาจกําหนดค่าทดแทน |
● เมื่อได้รับรายงานจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือได้รับคําขอจาก ผู้เสียหายแล้ว ให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทําหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็น เกี่ยวกับผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนและจํานวนค่าทดแทน ● มีอํานาจสั่งให้คณะกรรมการทบทวนหรือสอบสวนเพิ่มเติม ● ความเห็นของคณะกรรมการไม่ผูกมัดผู้มีอํานาจกําหนดค่าทดแทนที่จะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ● ให้พิจารณากําหนดค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 14 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นของคณะกรรมการ และแจ้งผล การพิจารณาพร้อมกับแจ้งสิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองให้แก่ผู้เสียหายทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่ผู้มีอํานาจกําหนด ค่าทดแทนพิจารณาเรื่องดังกล่าวเสร็จ |
|
4. คณะกรรมการ |
||
อำนาจและหน้าที่ ของคณะกรรมการ |
● เสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งสามารถ ขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกําหนดระยะเวลาดังกล่าว ● จัดทําบัญชีรายชื่อผู้เสียหาย รายละเอียดความเสียหาย และตรวจสอบข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง ● พิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อว่าได้กระทําไปตามหน้าที่และอํานาจ และได้กระทําให้เกิดความเสียหายหรือไม่ รวมทั้งความร้ายแรงแห่งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้เสียหาย ● เสนอความเห็นเกี่ยวกับการกําหนดค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงนี้พร้อมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานต่อผู้มีอำนาจกำหนดค่าทดแทนเพื่อพิจารณาต่อไป |
|
5. ค่าทดแทน |
||
หลักเกณฑ์การกําหนดค่าทดแทน |
● ให้พิจารณาตามความจําเป็น โดยคำนึงถึงความร้ายแรงและสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับและประโยชน์ที่ผู้เสียหายได้รับหรือจะได้รับจากการบรรเทาหรือเยียวยาความเสียหายโดยทางอื่นด้วย ● ค่าเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของผู้เสียหาย ให้คํานึงถึงความเสียหายตามความเป็นจริง สภาพของทรัพย์สิน ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด หรือราคากลางที่ราชการกําหนดในวันที่เกิดความเสียหาย ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน การที่ทางราชการได้บรรเทาหรือเยียวยาความเสียหายไปแล้ว และให้พิจารณา ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง |
|
ประเภทค่าทดแทน |
● ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ● ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ให้จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท ● ค่าขาดประโยชน์ทํามาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ให้จ่ายในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่จังหวัดที่ประกอบการงาน ณ วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ ● กรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ได้แก่ (1) ค่าทดแทน ให้จ่ายได้ตั้งแต่ 30,000 บาทแต่ไม่เกิน 100,000 บาท (2) ค่าจัดการศพ ให้จ่ายเป็นจํานวน 20,000 บาท (3) ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู ให้จ่ายได้ไม่เกิน 30,000 บาท ● ค่าเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินของผู้เสียหาย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน ● ค่าเสียหายอื่นนอกจากที่กําหนดไว้ ที่จําเป็นต้องจ่ายเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ให้จ่ายได้ไม่เกิน 30,000 บาท |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 12 พฤศจิกายน 2567
11340