หมวดหมู่: พาณิชย์

ช่วยข้าวนาปรัง


พิชัย เคาะ 3 มาตรการ ช่วยข้าวนาปรัง เป้าชาวนาได้เงินตันละ 8,000-8,500 บาท

พิชัย ประชุมคณะอนุกรรมการ นบข. ด้านการตลาด เคาะ 3 มาตรการช่วยข้าวนาปรัง ให้สินเชื่อเก็บข้าวตันละ 1,500 บาท ชดเชยดอกเบี้ยโรงสี 6% แต่ต้องซื้อข้าวบวกเพิ่มตันละ 200 บาท และเปิดจุดรับซื้อ ช่วยค่าบริหารจัดการตันละ 500 บาท แต่ต้องซื้อข้าวบวกเพิ่มตันละ 300 บาท เป้าหมายดูดซับผลผลิตรวม 3.8 ล้านตัน เตรียมชง นบข.อนุมัติสัปดาห์หน้า พร้อมจับมือห้าง กระตุ้นการบริโภค ขอ EXIM Bank ช่วยปล่อยสินเชื่อให้ผู้ส่งออก'นภินทร'เผยมาตรการนี้ จะช่วยชาวนาได้เงินตันละ 8,000-8,500 บาท       

นายพิชัย นริพทะพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาด เพื่อพิจารณามาตรการแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกนาปรังตกต่ำ ว่า ที่ประชุมได้มีมตินำเสนอมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกนาปรัง  ปี 2568 ซึ่งเป็นมาตรการพิเศษ ที่ปกติจะใช้เฉพาะการดูแลข้าวเปลือกนาปี โดยจะนำมาใช้ดูแลข้าวเปลือกนาปรัง มีจำนวน 3 มาตรการ ซึ่งจะนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) พิจารณาอนุมัติในสัปดาห์หน้า

สำหรับ 3 มาตรการ ได้แก่ 1.สินเชื่อชะลอนาปรัง ช่วยค่าฝากเก็บ 1,500 บาทต่อตัน หากเกษตรกรเก็บไว้ในยุ้งฉางของตัวเอง และได้ 1,000 บาทต่อตัน หากเก็บที่สหกรณ์ โดยสหกรณ์ได้ 500 บาทต่อตัน ต้องเก็บข้าวไว้ 1-5 เดือน เป้าหมาย 1.5 ล้านตัน 2.ชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการโรงสี 6% ต้องเก็บสต๊อกไว้ 2-6 เดือน

และต้องซื้อข้าวสูงกว่าราคาตลาด 200 บาทต่อตันขึ้นไป เป้าหมาย 2 ล้านตัน และ 3.เปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือก โดยรัฐสนับสนุนค่าบริหารจัดการ 500 บาทต่อตัน และผู้ประกอบการต้องรับซื้อข้าวสูงกว่าตลาด 300 บาทต่อตัน เป้าหมาย 3 แสนตัน ใช้งบประมาณรวม 1,893.53 ล้านบาท

นอกจากนี้ จะร่วมมือกับห้างค้าปลีก โมเดิร์นเทรด ห้างท้องถิ่น จัดจุดจำหน่ายราคาไม่เกิน 100 บาท เพื่อกระตุ้นการบริโภค เป้าหมาย 5 แสนตัน และมาตรการส่งเสริมการส่งออกข้าวไทย โดยขอความร่วมมือ EXIM Bank จัดสินเชื่อพิเศษให้ผู้ส่งออกข้าวในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง เพื่อช่วยลดต้นทุน และเร่งผลักดันการส่งออก รวมทั้งจะเดินหน้าผลักดันการส่งออกข้าว ซึ่งได้หารือกับจีน เพื่อให้เร่งซื้อข้าวจีทูจีในส่วนที่เหลือ 2.8 แสนตัน และจะไปเจรจาขายข้าวให้แอฟริกาใต้ เป้าหมาย 3 แสนตันในเดือน มี.ค.นี้

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เกษตรกรต้องการขายข้าวเปลือกเจ้าให้ได้ราคาไม่ต่ำกว่า 8,000 บาทต่อตัน เป็นข้าวสด ซึ่งมาตรการที่ออกมา จะช่วยให้เกษตรกรขายข้าวได้ 8,000 บาท หากตอนนี้ ราคาข้าวเกี่ยวสดได้ 7,000 บาท หากได้เงินเพิ่มจากมาตการฝากเก็บ ก็จะได้ 1,000-1,500 บาทต่อตัน ก็จะได้เงิน 8,000-8,500 บาท

ซึ่งเป็นไปตามที่ชาวนาต้องการ ส่วนการเปิดจุดรับซื้อ หากขายไม่ได้ 8,000 บาท เกษตรกรก็ไม่ต้องขาย ส่วนข้อเสนอที่เกษตรกร ขอให้ชดเชยเรื่องต้นทุน เรื่องการไม่เผาฟางข้าว เป็นเรื่องคณะอนุกรรมการด้านการผลิต จะต้องพิจารณา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพเรื่องนี้

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า มีความพอใจมาตรการที่ออกมาระดับหนึ่ง เพราะหากรัฐบาลสามารถผลักดันราคาข้าวสดได้ถึงตันละ 8,500 บาทได้จริง ก็ถือเป็นราคาที่เกษตรกรพออยู่ได้ เนื่องจากปัจจุบันชาวนามีต้นทุน 5,500-6,000 บาทต่อตัน หากขายได้ตันละ 8,500 บาทก็พอใจ แต่ก็อยากให้รัฐบาลช่วยดูเรื่องปัจจัยการผลิตอื่นเพิ่มเติม ทั้งการจัดหาแหล่งน้ำ เมล็ดพันธุ์ข้าว รวมถึงช่วยค่ายาปราบศัตรูพืช ค่าปุ๋ย เพื่อช่วยลดต้นทุนชาวนา

 อนุตลาดนบข

อนุตลาด นบข.เตรียม 3 มาตรการช่วยชาวนา จ่อเสนอ นบข. สัปดาห์หน้า ชาวนาได้แน่ ไม่ต่ำกว่า 8,000 บาท/ตัน

คณะอนุกรรมการ นบข. ด้านตลาด เคาะมาตรการช่วยข้าวนาปรัง สินเชื่อชะลอนาปรัง ช่วยค่าฝากเก็บ 1,500 บาท/ตัน เปิดจุดรับซื้อ รัฐให้ค่าบริหารจัดการ 500 บาท/ตัน และชดเชยดอกเบี้ย 6% โดยให้โรงสีซื้อข้าวในราคานำตลาด 200 บาท/ตัน พร้อมมาตรการคู่ขนานการรณรงค์การบริโภคข้าว นำข้าว 500,000 ตัน ผลิตข้าวถุงจำหน่ายราคาถูก เร่งรัดการส่งออกข้าวและเปิดตลาดใหม่แอฟริกาใต้

วันที่ 20 ก.พ. 2568 เวลา 17.30 น. ห้องประชุมกระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาด (คณะอนุกรรมการ นบข.ด้านตลาด) โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทร ศรีสรรพางค์) เข้าร่วม

พร้อมด้วยปลัดกระทรวงพาณิชย์ รองปลัดเกษตรฯ อธิบดีกรมการข้าว อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร สมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมโรงสีข้าวอีสาน นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ธ.ก.ส. ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาข้าวนาปรัง

จากประเด็นที่เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางและเหนือตอนล่าง โดยเปิดเผย ภายหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการ นบข. ด้านตลาด ได้ร่วมกันพิจารณามาตรการการช่วยเหลือราคาข้าวนาปรังปี 2568 ก่อนนำเสนอ นบข. โดยได้มีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการช่วยเหลือข้าวนาปรัง 2568 ดังนี้

1. ขยายโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปรัง ช่วยค่าฝากเก็บ 1,500 บาท/ตัน ระยะเวลา 1-5 เดือน ในพื้นที่ 72 จังหวัด ปริมาณ 1.5 ล้านตัน วงเงิน 1,219.13 ล้านบาท

2. การเพิ่มช่องทางการตลาดในประเทศโดยเปิดจุดรับซื้อ รัฐสนับสนุนค่าบริหารจัดการตันละ 500 บาท ผู้ประกอบการช่วยซื้อในราคานำตลาด 300 บาทต่อตัน เป้าหมาย 300,000 ตัน ในพื้นที่ 72 จังหวัด งบประมาณ 150 ล้านบาท เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรที่ต้องการจะขายเลย

3. โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อกข้าว ช่วยดอกเบี้ยผู้ประกอบการ 6% สำหรับผู้ประกอบการเก็บสต็อก 2 – 6 เดือน และผู้ประกอบการรับซื้อราคาสูงกว่าตลาด 200 บ./ตัน ขึ้นไป เป้าหมาย 2 ล้านตัน วงเงิน 524.40 ล้านบาท

โดยทั้ง 3 มาตรการ ใช้งบประมาณรวม 1,893.53 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการคู่ขนาน ในการกระตุ้นการบริโภคร่วมกับโมเดิร์นเทรดดึงซัพพลายส์ ออกจากตลาดจำนวน 500,000 ตันข้าวเปลือก จัดทำข้าวถุงจำหน่ายในราคาประหยัดต่อไป และในส่วนของการส่งออกได้มีการเร่งรัดการขอให้จีนซื้อข้าวของไทยตามสัญญาข้อตกลงระหว่างรัฐ ในปริมาณ 280,000 ตัน โดยเร็วที่สุด พร้อมเปิดตลาดส่งออกใหม่ที่แอฟริกาใต้ ดึงSupply ออกจากตลาดให้มากที่สุด ซึ่งตลาดดังกล่าวมีความต้องการบริโภคข้าวไทยเป็นอย่างมาก”นายพิชัย กล่าว

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!