หมวดหมู่: การศึกษา

2006 วว วันนักประดิษฐ์


วว. ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันนักประดิษฐ์ พร้อมโชว์ผลงานนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ด้วย วทน.

          สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2568 ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ Event Hall 101 –104 ไบเทค บางนา โดยมีการแสดงนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมมากกว่า 1,000 ผลงาน การมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ การเสวนา การฝึกอบรมเชิงวิชาการและปฏิบัติการ มากกว่า 100 หัวข้อ ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทย: ความท้าทายของประเทศ” เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย”

          โอกาสนี้นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วช. ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมด้วย ดร.พงศธร ประภักรางกูล รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ คณะผู้บริหาร นักวิจัย วว. ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงานเครือข่าย นักประดิษฐ์และนักวิจัยจากทั้งในและต่างประเทศ ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จ (วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568)

          ในการนี้ วว. นำผลงานวิจัยนวัตกรรมจากการดำเนินงานตามนโยบายเศรษฐกิจ BCG โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการด้วย

          และในโอกาสนี้ ดร.สิทธิพงศ์ สรเดช นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมสมุนไพร ได้เข้ารับ “รางวัลการวิจัยแห่งชาติ” ประจำปีงบประมาณ 2568 ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากผลงาน “โพลิเอทิลเลนิมีนเชิงเส้นและอนุพันธ์เพื่อเป็นวัสดุชีวภาพ (Biomaterials) และสารช่วย (Excipients) ที่มีศักยภาพสำหรับการนำส่งยา” (Linear Polyethyleneimine and Derivatives as Potential Biomaterials and Excipients for Drug Delivery)

          นอกจากนั้น ดร.วรวัฒน์ ทรงกิตติ นักวิชาการ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ยังได้รับรางวัลดังกล่าว ประเภทวิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากผลงาน “Investigation of On-Road Particulate Matter Characteristics from Brake Wear Mechanisms” ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ลักษณะและปัจจัยที่มีผลต่อการปล่อยอนุภาคในละอองจากการเบรกยานยนต์ในสภาพการขับขี่จริง โดยใช้เทคนิคการเก็บตัวอย่างแบบไอโซคิเนติก (Isokinetic Sampling) ซึ่งช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวัดค่าอนุภาค พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบจากอุณหภูมิการเบรกและปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อปริมาณฝุ่นละออง

 

 

2006

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!