หมวดหมู่: ไอที-เทคโนฯ

1172 วว1


วว. จับมือ BLCP ร่วมพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเป็นต้นแบบให้โรงไฟฟ้าผู้ผลิตจากถ่านหินด้วยเทคโนโลยีที่สะอาด

          ผศ.ดร.วีระชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ นายยุทธนา เจริญวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (BLCP) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยความร่วมมือดังกล่าวทั้งสองหน่วยงานมุ่งร่วมดำเนินงานจากการตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในการวิจัยพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับโรงไฟฟ้าผู้ผลิตจากถ่านหินด้วยเทคโนโลยีที่สะอาด โดยการสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการเพิ่มมูลค่าให้แก่วัสดุที่เกิดขึ้นจากกระบบการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน รวมถึงความริเริ่มในการพัฒนาการสร้างอาชีพให้กับชุมชนบริเวณรอบข้างโรงไฟฟ้า BLCP อันจะนำมาซึ่งความมั่นคงและความเข้มแข็งของการพัฒนางานวิจัยร่วมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ยั่งยืน ในการนี้ ดร.ศิริพร ลาภเกียรติถาวร ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว. นายธัชชัย เพลินขจรเกียรติ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาองค์กร BLCP คณะผู้บริหาร นักวิจัย บุคลากร ทั้งสองฝ่ายร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดีด้วย ณ กระทรวง อว. (โยธี) 

 

1172 วว ผลงานวิจัยร่วมทั้งสองหน่วยงาน

 

          ผศ.ดร.วีระชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า BLCP กับ วว. ได้มีความร่วมมือระหว่างกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จวบจนปัจจุบัน โดยมียุทธศาสตร์ที่จะสร้างงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่อยู่บนกรอบของหลักการ BCG โดยเน้นตัว C คือ Circular เป็นการสนับสนุนองค์รวมของการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะมูลฝอย ปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่กำหนดให้มีการเร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ น้ำเสีย และขยะ ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค เพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ประชาชน ในช่วงเวลา 6 ปี ที่ผ่านมาเกิดโครงการที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน อาทิ การนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ประโยชน์เพื่อเปลี่ยนเป็นไบโอเมทานอล และบางส่วนนำมาผลิตสาหร่ายมูลค่าสูง การนำเถ้าฝุ่นจากการผลิตไฟฟ้ามาผลิตเป็นวัสดุและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม การพัฒนาเพื่อผสมผสานชีวมวลกับถ่านหินเพื่อการผลิตไฟฟ้า การตรวจสอบเเละประเมินเเนวเชื่อมของท่อ tertiary superheater ของหม้อน้ำโรงไฟฟ้าถ่านหิน และพร้อมจะร่วมมือกันผลักดันโครงการขึ้นสู่ระดับอุตสาหกรรมภายใต้กรอบ BCG ต่อไป

 

1172 วว2

 

          นายยุทธนา เจริญวงศ์ กรรมการผู้จัดการ BLCP กล่าวว่า เชื่อมั่นในความร่วมมือกับ วว. ที่จะสร้างแรงกระตุ้นและขับเคลื่อนโรงไฟฟ้าถ่านหินในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพิ่มมูลค่าจากคาร์บอนไดออกไซด์และวัสดุจากระบบการผลิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม Scale up งานวิจัยไปสู่การปฏิบัติและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจอื่นๆ ต่อไป ดังความมุ่งมั่นของ BLCP ในการดำเนินงานเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีของโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย 

 

 

1172

Click Donate Support Web 

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!