บทวิเคราะห์ RCEP สร้างอนาคตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก
ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือ RCEP มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2022 โดยเป็นการบูรณาการข้อตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาค เพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร และส่งเสริมการเติบโตของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศภายในภูมิภาค หลายคนเชื่อว่า RCEP กําลังสร้างอนาคตเศรษฐกิจให้กับเอเชียแปซิฟิก ด้วยปัจจัยดังนี้
ประการแรก ตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา RCEP ได้เติมพลังใหม่ให้กับเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกงรายงานประจําปี 2025 เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและกระบวนการบูรณาการของเอเชียง ที่เผยแพร่ในฟอรั่มเอเชียโป๋อ๋าวปี 2025 ระบุว่า ในปี 2024 ปริมาณการค้าทั้งหมดภายในภูมิภาค RCEP ได้เติบโตขึ้นประมาณ 3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
โดยปริมาณการค้าภายในภูมิภาคของประทศสมาชิกส่วนใหญ่มีการเติบโตเมื่อเทียบเป็นรายปี ตัวอย่างเช่นลาว เมียนมา กัมพูชา และอินโดนีเซียมีอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุด โดยปริมาณการค้าในภูมิภาคเติบโต 72.4% 40.4% 26.0% และ 19.2% ตามลําดับเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่ RCEP จะมีผลบังคับใช้
ประการที่สอง RCEP มุ่งสู่การค้าเสรีระหว่างประเทศพัฒนา ประเทศกําลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนา โดยสมาชิก RCEP ประกอบด้วย 10 ประเทศอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมเป็น 15 ภาคี RCEP
นอกจากนี้ RCEP ยังมุ่งเน้นเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่เป็นประโยชน์ร่วมกันเพื่อความสมดุลระหว่างการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และด้านกฎระเบียบ นักเศรษฐศาสตร์บางคนเชื่อว่าอนาคตการพัฒนาของโลกขึ้นอยู่กับเอเชียแปซิฟิกเป็นอย่างมาก และการเติบโตของเศรษฐกิจและการค้าในเอเชียแปซิฟิกขึ้นอยู่กับ RCEP
ปัจจุบัน ประเทศชิลี ศรีลังกา และเขตฮ่องกงของจีนได้ยื่นขอเข้าร่วม RCEP อย่างเป็นทางการ หากรวมประเทศเศรษฐกิจเหล่านี้แล้ว RCEP จะเปลี่ยนจากองค์กรระดับภูมิภาคไปสู่องค์กรข้ามภูมิภาค นอกจากนี้ RCEP อาจร่วมมือกับองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้และคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับเพื่อแสวงหาการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่กว้างขึ้น
อย่างไรก็ตาม RCEP ยังคงเผชิญกับความท้าทายในการบูรณาการตลาด การใช้กฎ และกลไก เนื่องจากขั้นตอนการพัฒนาที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิก RCEP จําเป็นต้องค้นหาความสมดุลของกันและกันเพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถปฏิบัติตามกฎของ RCEPได้ นักวิชาการได้แนะนําให้ใช้เศรษฐกิจดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสมาชิก RCEP
สําหรับ กฎและมาตรฐานการค้าที่ซับซ้อน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยธุรกิจโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเลือกข้อตกลงทางการค้าที่เหมาะสมที่สุด และทําให้องค์กรผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าถึงประโยชน์ของ RCEP อย่างแท้จริง
ฝ่ายต่างๆ เรียกร้องให้เพิ่มความสนใจต่อบทบาทของ RCEP ในการส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก เพื่อพัฒนา RCEP ให้เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ทันสมัย ครอบคลุม มีคุณภาพสูง และเป็นประโยชน์ร่วมกัน
https://www.facebook.com/ChinafacecriThai