ส่งออกปี 67 จบสวย ธ.ค.โต 8.7% ทั้งปีทะลุเป้า บวก 5.4% มูลค่า 10.5 ล้านล้าน
ส่งออก ธ.ค.67 มีมูลค่า 24,765.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 8.7% บวกต่อเนื่อง 6 เดือนติด รวมทั้งปี 300,529.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 5.4% โตทะลุเป้า คิดเป็นเงินบาท 10.5 ล้านล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ คาด ม.ค. ยังโตต่อ ทั้งปี 68 ตั้งเป้า 2-3% ได้แรงหนุนเศรษฐกิจโลก เงินเฟ้อ ดอกเบี้ยลด มีการย้ายฐานลงทุนมาไทย จับตาทรัมป์ 2.0 ภูมิรัฐศาสตร์ อัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวป่วน เผย 'พิชัย' เตรียมบินสหรัฐฯ ก.พ.นี้ หาทางแก้ปัญหาการค้ากับสหรัฐฯ
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน ธ.ค.2567 มีมูลค่า 24,765.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.7% ขยายตัวเป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 853,305 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 24,776.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.9% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 863,930 ล้านบาท ขาดดุลการค้า 10.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 10,625 ล้านบาท
รวมทั้งปี 2567 (ม.ค.-ธ.ค.) การส่งออก มีมูลค่า 300,529.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.4% สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 1-2% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 10,548,759 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ การนำเข้า มูลค่า 306,809.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.3% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 10,896,480 ล้านบาท ขาดดุลการค้า 6,280.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 347,721 ล้านบาท
สำหรับ การส่งออกที่เพิ่มขึ้น มาจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 8.9% โดยสินค้าเกษตร เพิ่ม 10.7% และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 6.7% โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ ยางพารา ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ส่วนสินค้าที่หดตัว อาทิ ข้าว และน้ำตาลทราย ทั้งนี้ ปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มขึ้น 6%
ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 11.1% โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด ทั้งนี้ ปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 5.9%
ทางด้านตลาดส่งออกสำคัญ ส่วนใหญ่ขยายตัว ตลาดหลัก เพิ่ม 12% โดยสหรัฐฯ เพิ่ม 17.5% จีน เพิ่ม 15% ญี่ปุ่น เพิ่ม 0.6% สหภาพยุโรป (27) เพิ่ม 19.1% CLMV เพิ่ม 20.7% ส่วนอาเซียน (5) ลด 0.6% ตลาดรอง เพิ่ม 6.2% โดยเอเชียใต้ เพิ่ม 44.5% ตะวันออกกลาง เพิ่ม 11.3% แอฟริกา เพิ่ม 8.7% ลาตินอเมริกา เพิ่ม 12.3% รัสเซียและกลุ่ม CIS เพิ่ม 37% และสหราชอาณาจักร เพิ่ม 37.4% ส่วนทวีปออสเตรเลีย ลด 15.5% และตลาดอื่น ๆ ลด 65.3%
นายพูนพงษ์ กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกในเดือน ม.ค.2568 คาดว่าจะยังคงส่งออกได้ดี และจะมีอัตราการขยายตัวเป็นบวกได้ต่อเนื่อง ส่วนทั้งปี 2568 ยังคงยืนเป้าหมายเดิมที่ 2-3% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเติบโตใกล้เคียงในระดับปัจจุบัน
แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ การย้ายฐานการผลิตมายังกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงไทยมากขึ้น และการเร่งส่งเสริมการใช้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยเชื่อมโยงเข้ากับสินค้าส่งออกเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้เป็นที่จดจำในระดับโลก
ทั้งนี้ มีปัจจัยท้าทายต่อการส่งออก คือ ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งกระทบกับบรรยากาศการค้าโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อยาวนาน และความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในส่วนของนโยบายทรัมป์ 2.0 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามอย่างใกล้ชิด และเตรียมการรับมือร่วมกับภาคเอกชน
และมีแผนที่จัดคณะผู้บริหารเดินทางไปสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ.2568 เพื่อหารือกับสหรัฐฯ ในเรื่องความร่วมมือการค้า การลงทุน ภาษีนำเข้า และการหาทางป้องกันไม่ให้ไทยได้รับผลกระทบจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทย โดยขณะนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำแผน เพื่อนำไปหารือกับสหรัฐฯ ว่า ไทยจะดำเนินการแก้ไขอะไรได้บ้าง ซึ่งเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ก็คือ การซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่ม อาทิ ถั่วเหลือง เป็นต้น
ส่งออก ธ.ค. ขยายตัว 8.7% ทั้งปี 67 ขยายตัว 5.4 มูลค่ากว่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 🚢✈️🌏📊
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ แถลง การส่งออกของไทยในเดือนธันวาคม 2567 มีมูลค่า 24,765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (853,305 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 8.7 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 10.4 ภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2567 ทำมูลค่าการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์
โดยการส่งออกในรูปของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ พุ่งทะยานสู่ระดับ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับการส่งออกในรูปของเงินบาทก็มีมูลค่าสูงกว่า 10 ล้านล้านบาท เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนธันวาคมได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าทุนและวัตถุดิบของไทยในทุกหมวดและยังขยายตัวเกือบทุกตลาดส่งออกสำคัญ
ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของนโยบายทางการค้าโลกในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ การส่งออกของไทยทั้งปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 5.4 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 5.4
.
📊 มูลค่าการค้ารวม
💰มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ
เดือนธันวาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 24,765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,776.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.9 ดุลการค้า ขาดดุล 10.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาพรวมของทั้งปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 300,529.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 306,809.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.3 ดุลการค้าของปี 2567 ขาดดุล 6,280.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
.
💰มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท
เดือนธันวาคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 853,305 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 863,930 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 13.4 ดุลการค้า ขาดดุล 10,625 ล้านบาท ภาพรวมของทั้งปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 10,548,759 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.3 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 10,896,480 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.8 ดุลการค้าของปี 2567 ขาดดุล 347,721 ล้านบาท
.
📊แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป
แนวโน้มการส่งออกในปี 2568 กระทรวงพาณิชย์คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2568 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2 – 3 ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเติบโตใกล้เคียงในระดับปัจจุบัน แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ การย้ายฐานการผลิตมายังกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงไทยมากขึ้น และการเร่งส่งเสริมการใช้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยเชื่อมโยงเข้ากับสินค้าส่งออกเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้เป็นที่จดจำในระดับโลก
ขณะที่มีปัจจัยท้าทายจากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งกระทบกับบรรยากาศการค้าโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อยาวนาน และความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามสถานการณ์และวางแผนเตรียมความพร้อมร่วมกับภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การค้าไทยเติบโตอย่างยั่งยืน
#สนค #สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า #TPSO #กระทรวงพาณิชย์ #MOCThailand #MOC #ข่าวเศรษฐกิจ
.
💾 ข้อมูลฉบับเต็ม: ในคอมเมนต์ด้านล่าง
🙏 ขอบคุณข้อมูล: กองยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถทางการแข่งขัน (พข.)
.ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจการค้าก่อนใครที่
📌 LINE: @TPSO.tradeinsights
📌 Website : tpso.go.th