หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 20


ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียน สำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้ 

          1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับหลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ เป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

          2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า

          1. เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยผลิตและส่งออกสูงแต่มักพบปัญหาการเร่งตัดทุเรียนเพื่อการบริโภคสดก่อนถึงอายุเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ทุเรียนไม่แก่ออกสู่ตลาด ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและทำลายสภาวะการค้าในภาพรวม ดังนั้น เพื่อให้มีหลักปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน จึงจำเป็นต้องมีหลักปฏิบัติสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุทุเรียน เพื่อช่วยสนับสนุนการจำหน่ายผลทุเรียนที่แก่ มีคุณภาพตามมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคและเวทีการค้า ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพของทุเรียนไทยเพื่อรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก กษ. โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จึงได้จัดทำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 

          2. ในคราวประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ และเห็นชอบกำหนดให้มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานบังคับ

          3. กษ. ได้นำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ มาดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นก่อนออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานบังคับต่อไป ตามมาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ซึ่งบัญญัติให้เมื่อคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเห็นด้วยกับรายละเอียดของร่างมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรใดและกำหนดให้เป็นมาตรฐานบังคับ ให้คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรนั้นเป็นมาตรฐานบังคับ โดยก่อนออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานบังคับ ให้ มกอช. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง หากคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเห็นสมควรกำหนดให้เป็นมาตรฐานทั่วไปแล้ว ให้คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรเป็นมาตรฐานทั่วไป โดย มกอช. ได้นำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ เผยแพร่ลงบนเว็บไซต์ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (www.acfs.go.th) เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (www.law.go.th) เป็นเวลา 45 วัน และแจ้งเวียนประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นเวลา 60 วัน รวมทั้งจัดทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการ รวมจำนวน 233 หน่วยงาน มีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตรดังกล่าว รวมจำนวนทั้งสิ้น 32 ราย เห็นด้วย 28 ราย และไม่เห็นด้วย 4 ราย

          4. ในคราวประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 เห็นชอบกำหนดให้มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุเป็นมาตรฐานบังคับ โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเห็นชอบร่างกฎกระทรวงฯ โดยมอบ มกอช. จัดทำร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป (ส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน) ก่อนดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดเป็นมาตรฐานบังคับ (กำหนดให้สินค้าเกษตรต้องเป็นไปตามมาตรฐาน) 

          สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

          กำหนดให้มาตรฐานสินค้าเกษตร เลขที่ มกษ. 9070 – 2566 ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 เป็นมาตรฐานบังคับ เช่น ผู้ประกอบการโรงรวบรวมหรือโรงคัดบรรจุต้องมีมาตรการการตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียน ก่อนรับเข้าสู่การจัดการ ต้องตรวจพินิจลักษณะภายนอกของผลทุเรียนทุกผลจากทุกรุ่น มีการคัดแยกผลทุเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ และทำการแยกไว้ต่างหากในบริเวณที่ติดป้ายบ่งบอกชัดเจน ห้ามนำเข้าสู่การจัดการและห้ามนำไปจำหน่ายเพื่อบริโภคสดและต้องบันทึกข้อมูลการคัดแยก และการจัดการกับผลทุเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ไว้เป็นหลักฐาน มีการตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน ต้องตรวจสอบความแก่ของผลทุเรียน โดยนำผลทุเรียนที่ผ่านการคัดแยกแล้วว่าเป็นผลทุเรียนแก่มาตรวจวิเคราะห์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน ซึ่งน้ำหนักจะต้องผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด ผู้ควบคุมการเก็บเกี่ยวต้องมีความรู้ความชำนาญ และมีหลักฐานแสดงว่าได้รับการฝึกอบรมและผ่านการทดสอบเรื่องการเก็บผลทุเรียนแก่หรือได้รับการประเมินความสามารถ โดยโรงรวบรวมหรือโรงคัดบรรจุหรือได้รับการฝึกอบรมและผ่านการทดสอบเรื่องการเก็บเกี่ยว ผลทุเรียนแก่จากหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่ภาครัฐให้ความเห็นชอบ โดยกฎกระทรวงนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 9 เมษายน 2567

 

 

4368

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

TOA 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!