หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV4 copy


ร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน เพื่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะได้แจ้งรับรองไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนต่อไป โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรีของประเทศไทย มีหนังสือแจ้งความเห็นชอบรับรองร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียนไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ

        สาระสำคัญ

        กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สรุปสาระสำคัญของร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน (Declaration on Building A More Sustainable, Inclusive and Resilient Future: Unlocking Women’s Entrepreneurship in ASEAN) ดังนี้

        1. อาเซียนสนับสนุนคำมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรีและเด็กผู้หญิง ยืนยันถึงความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 และวาระการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 เน้นย้ำความจำเป็นในความพยายามเพื่อส่งเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรี และการพัฒนาผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน เน้นย้ำถึงผลกระทบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและในระยะยาวของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีต่อสตรี ยกย่องความพยายามอย่างแน่วแน่ในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการสตรี ยอมรับว่าสตรีเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และตระหนักถึงการสร้างความยั่งยืนที่มากขึ้นอนาคตที่ครอบคลุม และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

 

BANPU 720x100QIC 720x100

 

        2. ประเทศสมาชิกอาเซียน ดำเนินการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการสตรีในภูมิภาค ดังนี้

             1) ระบุอุปสรรคเชิงสถาบันและเชิงโครงสร้างที่สตรีประสบ โดยเฉพาะสตรีพิการและสตรีที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบางในการจะเป็นผู้ประกอบการ และการเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจในวงกว้าง

             2) เสริมสร้างนโยบายและกรอบกฎหมายที่สนับสนุนการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการสตรี ความยืดหยุ่น และการเสริมพลังทางเศรษฐกิจ

             3) ส่งเสริมการลงทุนที่มีมุมมองมิติเพศภาวะซึ่งรวมถึงส่วนประกอบของการลงทุนในธุรกิจที่สตรีเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้นำธุรกิจ

             4) ส่งเสริมมาตรการที่กำหนดเป้าหมายเพื่อให้ผู้หญิงปรับตัว รับมือ และฟื้นตัวจากวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 

             5) ลงทุนในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์แบบเพศภาวะ สร้างแผนปฏิบัติการ และการติดตามความก้าวหน้าของธุรกิจที่มีสตรีเป็นเจ้าของและสตรีผู้นำ

             6) ส่งเสริมแนวทางที่ครอบคลุมและตอบสนองทางเพศภาวะซึ่งจะควบคุมบทบาทของผู้ประกอบการสตรีเพื่อความก้าวหน้าในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

             7) สนับสนุนบริการที่มีมุมมองมิติเพศภาวะและการบริการสนับสนุนความเป็นผู้ประกอบการที่เข้าถึงง่ายสำหรับสตรี

             8) ตระหนักและให้คุณค่าของงานการดูแลที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และงานในครัวเรือนของสตรี

             9) เสริมสร้างความร่วมมือข้ามสาขา และข้ามเสาในชุมชนอาเซียน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8340

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!