หมวดหมู่: สภาอุตสาหกรรม

เกรียงไกร เธียรนุกุล


‘เกรียงไกร เธียรนุกุล’ประธาน ส.อ.ท.เข้าพบนายกรัฐมนตรี หารือแนวทางกระตุ้น ศก.ไทย

    วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นำโดยนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท.พร้อมคณะผู้บริหาร ส.อ.ท. เข้าพบนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ เพื่อนำเสนอแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตไทย และขับเคลื่อนนโยบายร่วมกัน ณ อาคารชินวัตร 3

 

โดยมี คณะผู้บริหาร ส.อ.ท. เข้าร่วมหารือ ดังนี้

1. นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   ประธานสายงานส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรม

2. นายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอาวุโสสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   ประธานสายงานส่งเสริมและสนับสนุนสภาอุตสาหกรรมจังหวัด

3. ดร.คมสัน เหล่าศิลปเจริญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   ประธานสถาบันรหัสสากล (GS1)

4. นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   ประธานสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

5. นายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   ประธานสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์

6. นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร

7. นายปรนนท์ ฐิตะวรรโณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   ประธานสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม

8. นางพิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   ประธานสถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์

9. นายวิวรรธน์ เหมมณฑารพ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

   ประธานสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม

10. นายนาวา จันทนสุรคน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

    ประธานสายงานสื่อสารองค์กร

11. ม.ล.ปีกทอง ทองใหญ่ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

     ประธานสายงานเศรษฐกิจและวิชาการ

12. นายเวทิต โชควัฒนา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

     ประธานสายงานอาเซียนและโลจิสติกส์

13. นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสายงานแรงงาน

14. นางสาวพิมพ์นารา จิรานิธิศนนท์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย งานสำนักประธาน

15. นายอดุล ขาวละออ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย งานสำนักประธาน

16. ดร.ปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เหรัญญิก

17. นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ตรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายทะเบียน

18. นายกฤษณ์ อิ่มแสง เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

19. ดร.วิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล กรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

20. นายนาคาญ์ ทวิชาวัฒน์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

21. นายอมฤต ฟรานเซน กรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

22. นางสาวพรรรัตน์ เพชรภักดี ผู้อำนวยการใหญ่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

23. ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการใหญ่

     นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า “วันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีและคณะ เพื่อนำเสนอ 5 ข้อเสนอเร่งด่วน และหาแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เอกชนเน้นย้ำเสมอ โดยแบ่งเป็นระยะเร่งด่วน ระยะกลางและระยะยาว”

 เกรียงไกร เธียรนุกุล

ในส่วนของระยะเร่งด่วน ส.อ.ท. เสนอแนะว่า

1)  ต้องมีการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศจากสินค้านำเข้าที่ไม่มีคุณภาพและการทุ่มตลาด โดย

   -  เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจจับสินค้าไม่มีคุณภาพหรือไม่มีมาตรฐานที่มีการนำเข้าผ่านด่านศุลกากร มีการทดสอบมาตรฐานก่อนนำเข้า เพิ่มจำนวนเครื่องเอกซเรย์ตู้คอนเทนเนอร์ป้องกันการสำแดงเท็จ รวมทั้งตรวจจับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานในท้องตลาด

   -  บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคและการแข่งขันทางการค้าอย่างเคร่งครัด รวมถึงการดำเนินการกับผู้กระทำผิดที่นำเข้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานเข้าสู่ตลาด

   -  ออกมาตรการกำกับดูแลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจากต่างประเทศ เพื่อป้องกันการทะลักเข้ามาของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศ

   -  เชื่อมโยงระบบการบริการข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ หรือ National Single Window (NSW) เพื่อตรวจสอบและอำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาต

 

2)  ต้องมีการส่งเสริมสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย และสินค้าที่ได้รับการรับรอง Made in Thailand (MiT) โดย

   -  เพิ่มแต้มต่อการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า MiT ผ่านวิธี e-bidding จากเดิม 5% เป็น 10% เป็นเวลา 2 ปี เพื่อสร้างกระแสเงินหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการไทย

   -  กำหนดให้มีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) แทนการอ้างอิงมาตรฐานต่างประเทศ เพื่อให้หน่วยงานมีความมั่นใจในสินค้า

   -  ออกมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับภาคเอกชนที่จัดซื้อสินค้าที่ได้รับการรับรอง MIT ให้สามารถนำยอดซื้อมาหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

   -  ออกมาตรการช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการส่งออกที่ได้รับการรับรอง MiT ไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น ค่าระวางเรือ ค่าขนส่งในประเทศ เป็นต้น

 

3)  ควรมีการลดต้นทุนด้านการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ผ่านการดำเนินงานด้านต้นทุนพลังงาน ได้แก่

   -  คงอัตราค่าไฟฟ้าโดยไม่ปรับเพิ่มขึ้น หรือปรับลดค่า Ft เพื่อรักษาต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในสภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

   -  บริหารจัดการความจุสำรอง (Reserve Capacity) ให้อยู่ในระดับไม่สูงเกินไป โดยพิจารณาการเจรจาเลื่อนโรงไฟฟ้าที่จะเกิดใหม่ให้สอดคล้องระหว่างกำลังความต้องการใช้ไฟฟ้าและกำลังการผลิต

   -  พิจารณาผลดี ผลเสียของการเกลี่ยค่าใช้จ่ายไปในอนาคต โดยขยายสัญญาการผลิตของโรงไฟฟ้า เพื่อลดภาระต้นทุนค่าไฟฟ้า

   -  ลดเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เพื่อเสริมสภาพคล่องในภาคอุตสาหกรรม

   -  เร่งพิจารณากระบวนการจัดสรรเงินกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs

 

สำหรับ การดำเนินงานด้านต้นทุนแรงงาน

   -  ควรมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนดไว้ในมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยมีคณะอนุกรรมการค่าจ้างไตรภาคีจังหวัดพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด เสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้าง พิจารณาให้สอดคล้องกับปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการเจริญเติบโตของ GDP ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง และประสิทธิภาพของแรงงาน

   -  ส่งเสริมการปรับอัตราค่าจ้างตามทักษะฝีมือแรงงาน (Pay By Skills) เพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพแรงงานควบคู่ไปกับการเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงาน

   -  ผลักดันให้ผลิตภาพแรงงานเป็นวาระแห่งชาติ ให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงหลักในการดำเนินการ

   -  พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานทั้ง Upskill/ Reskill/ Multi-Skill/ Future Skill ให้ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการและตลาดแรงงาน สอดรับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

   -  ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนที่สนองตอบความต้องการของตลาดแรงงาน

   -  จัดทำแพลตฟอร์ม Future Skill ที่ครบวงจร โดยมีงบประมาณสนับสนุนการฝึกและพัฒนาอาชีพ

 

 4)  ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SME ผ่านแนวทางต่างๆ ดังนี้

   -  ออกมาตรการทางการเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับ SME ไทย การผ่อนปรนคุณสมบัติของผู้กู้ ณ เงื่อนไขที่ SME กู้เงินไม่ได้ เช่น การดูประวัติ NPL ไม่มีหลักทรัพย์ เป็นสาขาธุรกิจที่มีความเสี่ยงหรืออื่นๆ ซึ่งธนาคารกำหนดไว้และเป็นประเด็นที่เป็นปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อของ SME มาโดยตลอด

   -  จัดสรรวงเงินเฉพาะเพื่อช่วยเหลือ SME ที่อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้เพื่อประคองธุรกิจ พร้อมให้คำปรึกษาในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปด้วย

   -  ผ่อนปรนเงื่อนไขการพิจารณาปล่อยสินเชื่อกับ SME สาหรับลูกค้าที่ติดเครดิตบูโรเกิน 1 ปี โดยไม่นำเอาประวัติการติดเครดิตบูโรในอดีตมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ หาก ณ วันที่ยื่นขอสินเชื่อผู้ประกอบการไม่เป็น NPLs แล้ว

   -  ออกมาตรการสินเชื่อพิเศษ เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริม SME โดยอัตราดอกเบี้ย 2 – 3% คงที่เป็นเวลา 3 ปี โดยขยายครอบคลุมทั้งการลงทุนและเงินหมุนเวียนในกิจการ

   -  ขอให้สถาบันการเงินเปิดให้มีการปรับเพิ่มระยะเวลาการผ่อนเป็นทางเลือก รวมทั้งปรับลดค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาสินเชื่อ เพื่อช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่อง

   -  ขอให้สถาบันการเงินและบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) คิดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันอย่างเป็นธรรม

 

นอกจากนี้ ส.อ.ท. ยังมีการส่งเสริมและผลักดัน  SME สู่ Smart SME ด้วย 4 GO คือ

     1. GO Digital : สนับสนุนการลงทุนพัฒนาไปสู่ Digital Transformation 4.0 เพื่อยกระดับขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมการผลิต และ SMEs ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

     2. GO Innovation : สร้างหน่วยงานกลางและหน่วยงานความเชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจนวัตกรรมที่เข้มแข็งในแต่ละภูมิภาค สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในส่วนที่สำคัญของอุตสาหกรรม และการจัดหาตลาดรองรับสินค้านวัตกรรม

     3. GO Global : สร้างโอกาสด้านการตลาดต่างประเทศให้กับ SME ที่มีศักยภาพ การจัดงานแสดงสินค้าไทยในต่างประเทศจากรัฐบาลทั่วทุกมุมโลก การพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขายของไทยให้เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้น และการเตรียมความพร้อมให้ SME มีศักยภาพสู่ตลาดต่างประเทศในรูปแบบต่างๆ

     4. GO Green : การให้ความรู้แก่ SME และสนับสนุนให้ SME ปรับธุรกิจไปสู่ธุรกิจสีเขียว สนับสนุนเงินทุนสำหรับการขอการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมแก่ SME รวมถึงการให้แต้มต่อด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครับและภาษีแก่สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

5) ควรมีการส่งเสริมการค้าชายแดน และพัฒนาระบบโลจิสติกส์

   -  เจรจาหารือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อพิจารณายกระดับจุดผ่อนปรนพิเศษทางการค้าและจุดผ่อนปรนทางการค้า ให้เป็นจุดผ่านแดนถาวร

   -  นำเสนอให้มีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมไทย-ลาว เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการขนส่งสินค้าผ่านด่านท่าบก ท่านาแล้ง สปป.ลาว เพื่อแก้ไขข้อจำกัดและอุปสรรคการขนส่งสินค้าจากไทยผ่านไปยังท่าบกของ สปป.ลาว

   -  แก้ไขข้อจำกัด อุปสรรคนโยบายรัฐและพัฒนาโครงข่ายระบบรางภายในประเทศ

   -  จัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาส่งเสริมโครงข่ายเชื่อมโยงระบบรางของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค

   -  ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการนำเข้า – ส่งออกสินค้าทางอากาศ

 

สำหรับ การดำเนินการระยะกลางและระยะยาว ส.อ.ท. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้

1)  ควรมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รักษาฐานการผลิตยานยนต์ของไทย ผ่านวิธีการต่างๆ ดังนี้

   -  รักษาและต่อยอดความเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่เป็น Future ICE (Future Internal Combustion Engine) ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

   -  ขยายสู่ตลาดต่างประเทศ เช่น เร่งรัดการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ในกลุ่มประเทศที่ยังมีการใช้เครื่องยนต์ ICE โดยเฉพาะตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้

   -  กระตุ้นการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ภายในประเทศ เช่น สนับสนุนแนวทางการกำหนดโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสาหรับยานยนต์ที่จะบังคับใช้ปี 2569 ออกมาตรการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ในกลุ่ม Future ICE (Product champion, HEV, PHEV, REEV) ผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐมีการกำหนดมาตรฐานมลพิษ (Euro 5 สำหรับรถจักรยานยนต์ และ Euro 6 สำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่) ให้มีความเหมาะสม

   -  ส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตชิ้นส่วนประเภทอะไหล่ทดแทน  REM (Replacement Equipment Manufacturing)

   -  สร้างอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสมัยใหม่ เตรียมพร้อมสู่ทิศทางความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ทั้งการผลักดันนโยบายให้มีความต่อเนื่อง ยกระดับให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ยานยนต์สมัยใหม่อย่างเป็นรูปธรรม

   -  จัดตั้งกองทุนสนับสนุน หรือกำหนดมาตรการทางภาษี เพื่อส่งเสริมการลงทุน และการเตรียมพร้อมการรับมือกับมาตรการทางคาร์บอน

   -  ส่งเสริมนโยบายการเปลี่ยนผ่านชิ้นส่วนยานยนต์ (Part Transformation) เข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพอื่นๆ ทั้งเครื่องมือแพทย์ ระบบราง อากาศยาน และ Robot & Automation รวมทั้งสร้างกลไกการจับคู่บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยกับต่างชาติ เพื่อเพิ่มการผลิตในประเทศ (Localization) และต่อยอดสู่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronic Parts)

    

2)  ควรมีการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์ในประเทศไทย ผ่านอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ

อุตสาหกรรมอาหาร

   -  มุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐาน คุณภาพและประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถขยับจากลำดับที่ 12 สู่ TOP 10 ในการส่งออกอาหารระดับโลกในอนาคต

   -  เปิดร้านอาหารไทยที่มีมาตรฐานในต่างประเทศ (B2B)

   -  ผลักดันวัตถุดิบและเครื่องปรุงรสแบรนด์ไทยสู่ตลาดโลก (B2C)

   -  ใช้ Influencer เพื่อสร้างกระแสความนิยมและความต้องการสินค้าอาหารไทย ต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย

 

อุตสาหกรรมแฟชั่น

   -  ตั้งเป้าหมายสร้างอัตลักษณ์ของการแต่งกายไทยผ่านการส่งเสริม ‘THAINESS LIFESTYLE’ด้วยการนำเสนอผ่านสื่อและพัฒนาเครื่องหมายที่สะท้อนความเป็นไทย เช่น ‘HAPPY THAI’เพื่อให้เอกลักษณ์การแต่งกายไทยเป็นที่ยอมรับและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นทั้งในและต่างประเทศ และวางแผนพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางอัญมณีระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานและคุณภาพของอัญมณีไทยให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

 

อุตสาหกรรมเกม

   -  พัฒนาและสนับสนุนการสร้างเกมไทยให้สามารถเข้าสู่ระดับโลก โดยตั้งเป้าหมายให้มีเกมไทยติดอันดับ TOP TEN ของเกมระดับโลกในระยะ 5 ปี เช่น ให้หน่วยงานรัฐอย่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(DEPA) ประเมินมูลค่าและโอกาสในการลงทุน และเสนอส่วนลดภาษีสำหรับการลงทุนและการนำเข้าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

   -  ส่งเสริมการส่งออกเกมไทยและสนับสนุนการตลาดออนไลน์ผ่านผู้คัดเลือกตัวแสดง (Caster) กลางและยาว

 

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

   -  จังหวัดจันทบุรีได้รับเลือกเป็นจังหวัดนำร่องในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีแผนการสนับสนุน Soft Power ในทุกจังหวัดผ่านการผลิตรายการสื่อ เช่น ‘One Province, One Series’

 

3) ควรมีการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อส่งเสริมความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) และเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ

   -  กำหนดให้การปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Reform) เป็นวาระแห่งชาติ โดยใช้กลไกผ่านวิธีการแก้ไขกฎหมายกลาง (Omnibus Laws) และ Regulatory Guillotine

   -  ผลักดันข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยรัฐบาลสนับสนุน ข้อสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนากฎหมายฯ และผลักดันแก้ไขกฎหมายเพื่อลดอุปสรรคการดำเนินธุรกิจดังกล่าว

     ทั้งนี้ มติที่ประชุม เห็นด้วยกับข้อเสนอ ส.อ.ท. โดยหลังจากจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ จะมอบหมายเจ้าภาพในการขับเคลื่อนข้อเสนอร่วมกัน รวมทั้งจะรื้อฟื้นการประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเป็นรายอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้เติบโตและเห็นผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

             เผยแพร่โดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (โทร. 0-2345-1013)

 

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!