หมวดหมู่: CSR

31061 IVL Waste Hero


โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านรีไซเคิล ‘Waste Hero’ มอบคุณค่าทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

          บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือกับมูลนิธิยูนูส ประเทศไทย และศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนของซีมีโอ หรือ SEAMEO SEPS ประกาศความสำเร็จในโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการรีไซเคิล ‘Waste Hero’ ในปี 2566 ซึ่งสามารถเข้าถึงนักการศึกษา และเยาวชน 420,332 คนทั่วโลก และสร้างผลตอบแทนทางสังคม (Social Return On Investment : SROI) อย่างมีนัยสำคัญในประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์

          เว็บไซต์ www.WasteHeroEducation.com ส่งเสริมความรู้พื้นฐานด้านการรีไซเคิล การสร้างของเสียให้เป็นศูนย์ และการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำเสนอสื่อการสอนบนเว็บไซต์ให้ครูเข้าถึงและปรับใช้เนื้อหาการเรียนการสอนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมห้องเรียนได้อย่างง่ายดาย โดยมีแผนการสอนที่ไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 19 บทเรียน ด้วยภาษาต่างๆ มากมาย ใน 6 ระดับการศึกษา ซึ่งได้รับการรับรองจากกลุ่มที่ปรึกษาด้านการศึกษา ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 23 คน จาก 17 ประเทศ โครงการ Waste Hero ช่วยให้ชุมชนจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ และการลดขยะ ให้กับบุคลากรของโรงเรียน ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่น โครงการนี้นับเป็นส่วนสำคัญของความมุ่งมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของอินโดรามา เวนเจอร์ส

          นักเรียนและนักการศึกษากว่าร้อยละ 80 แสดงความพึงพอใจต่อทรัพยากรและสื่อการเรียนรู้นี้ โดยโครงการได้รับผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) อย่างมีนัยสำคัญถึง 4.49 เท่าต่อทุกๆ 1 เหรียญสหรัฐ ที่ลงทุนในประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ตามการประเมินโดย Environmental Resources Management (ERM) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำด้านความยั่งยืนระดับนานาชาติ ทั้งนี้ ผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ อาทิ การที่นักการศึกษา 338 คน รายงานว่า Waste Hero ช่วยส่งเสริมการคัดแยกขยะได้ตั้งแต่ต้นทาง นอกจากนี้ นักการศึกษา 284 คน ยังเห็นพ้องกันว่า โครงการ Waste Hero ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์การศึกษา และลดการใช้เวลาของครู อีกทั้งโรงเรียน 296 แห่ง รายงานว่าโครงการดังกล่าวยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมครูและการเข้าร่วมงานสัมมนาทางออนไลน์อีกด้วย

          โครงการ Waste Hero ได้สร้างการตระหนักรู้และปลูกฝังแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนให้กับนักการศึกษาจำนวน 6,677 คน และนักเรียนจำนวน 274,664 คน ผ่านการส่งเสริมการเรียนรู้ของมูลนิธิยูนูส ประเทศไทย และเครือข่ายของมูลนิธิฯ นอกจากนี้ โครงการยังได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของ SEAMEO SEPS ที่ครอบคลุมโรงเรียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 1,000 แห่ง โดยสามารถเข้าถึงครูจำนวน 586 คน และนักเรียนจำนวน 138,392 คน เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการจัดการขยะและการดูแลสิ่งแวดล้อม

 

31061 IVL Sucitra

 

          นางสุจิตรา โลเฮีย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท และประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของอินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ความสำเร็จของโครงการ Waste Hero ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของอินโดรามา เวนเจอร์ส ในการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน และการสร้างคุณค่าทางสังคม สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของเรา เราภูมิใจในความร่วมมือระหว่างเรากับ SEAMEO SEPS และผลกระทบที่น่าประทับใจของโครงการในการส่งเสริมชุมชนทั่วอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เพื่อการจัดการขยะและสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน”

 

31061 IVL Duriya

 

          นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืนของซีมีโอ หรือ SEAMEO SEPS กล่าวว่า “ดิฉันภูมิใจที่ SEAMEO SEPS มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ทรัพยากรการสอน Waste Hero ไปยังเครือข่ายโรงเรียนทุกแห่งในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการริเริ่มนี้สอดคล้องกับพันธกิจของ SEAMEO SEPS ตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกฝังค่านิยม และเป็นแนวทางกระบวนการตัดสินใจเพื่อจัดการกับความท้าทายในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับโลก ความร่วมมือกับอินโดรามา เวนเจอร์ส และมูลนิธิยูนูส ประเทศไทย นี้สร้างโอกาสในการส่งเสริมการรีไซเคิล การสร้างของเสียให้เหลือศูนย์ และแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ในหมู่เยาวชนทั่วภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการเป็นพลเมืองโลกที่มีความรับผิดชอบ และมีส่วนช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืน”

          การวัดผลกระทบทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment - SROI) เป็นวิธีการที่ใช้ในการประเมินผลของโครงการ CSR ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าโครงการได้รับการออกแบบและพัฒนาอย่างเหมาะสมเพื่อสร้างผลตอบแทนทางสังคมและชุมชนสูงสุด ในขณะที่ใช้เงินทุนและทรัพยากรของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการประเมินผลของ SROI เกี่ยวข้องกับการกำหนดกิจกรรมหลักและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การดำเนินการสำรวจและการสัมภาษณ์เชิงลึก การพัฒนาการวิเคราะห์ผลกระทบห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงการใช้ข้อมูลทุติยภูมิและการกำหนดค่าตัวแทนทางการเงินเพื่อให้ทราบถึงมูลค่าทางการเงินต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากโครงการนั้นๆ อย่างชัดเจน

 

 

31061

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!