หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 8


รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2564

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2564 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ .. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 40 ที่บัญญัติให้ พม. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์ จำนวนคดี การดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เสนอต่อคณะรัฐมนตรี] ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในคราวประชุมฯ ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานได้เห็นชอบรายงานฯ ด้วยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

        1. สรุปผลการดำเนินงานฯ ประจำปี 2564

 

เรื่อง

 

สาระสำคัญ

การจัดสรรงบประมาณ

การจัดสรรงบประมาณ

 

รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตั้งแต่ปี 2560-2564 รวมยอดสะสมทั้งสิ้น 4,460.55 ล้านบาท โดยในปี 2564 ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.69

ด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย

1.สถิติการดำเนินคดี/

จับกุมผู้กระทำผิด/ช่วยเหลือผู้เสียหาย

 

• จับกุมและเริ่มการดำเนินคดีอาญา จำนวน 188 คดี เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 41.35 (ที่มีจำนวน 133 คดี) (คดีค้าประเวณี จำนวน 135 คดี คดีบังคับใช้แรงงาน/นำคนลงเป็นทาส*/ขูดรีด จำนวน 30 คดี คดีผลิตหรือเผยแพร่วัตถุ สื่อลามก จำนวน 13 คดี และคดีอื่นๆ จำนวน 10 คดี) ทั้งนี้ พบว่า เป็นคดีที่มาจากการสืบสวนสอบสวนช่องทางออนไลน์ จำนวน 107 คดี คิดเป็นร้อยละ 56.91 ของจำนวนคดีค้ามนุษย์ในชั้นสืบสวนทั้งหมด (คดีการโฆษณาจัดหางานผิดกฎหมายและหลอกลวงแรงงานทางสื่อออนไลน์ จำนวน 74 คดี และคดีเกี่ยวกับสื่อลามกเด็ก จำนวน 33 คดี)

• จับกุมผู้กระทำความผิดเพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวน 208 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้มีสัญชาติไทย รองลงมาเป็นสัญชาติเมียนมา ซึ่งในคดีส่วนมากเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ต้องหาในความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์จากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศที่มีผู้ต้องหาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมากขึ้น และส่วนใหญ่เป็นการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในช่องทางออนไลน์

• ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำนวน 414 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 79.22 (ที่มีจำนวน 231 คน) เป็นสัญชาติไทย จำนวน 312 คน และสัญชาติอื่นๆ จำนวน 102 คน (เป็นสัญชาติเมียนมา จำนวน 94 คน)

2. การดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์

 

ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นจำนวน 17 คน (อยู่ระหว่างการสอบสวน/ไต่สวน จำนวน 11 คน อยู่ระหว่างพิจารณาของพนักงานอัยการ จำนวน 4 คน อยู่ระหว่างพิจารณาของศาล จำนวน 1 คน และศาลยกฟ้อง จำนวน 1 คน)

3. การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศและความร่วมมือกับภาคประชาสังคม

 

จัดตั้งศูนย์ประสานงานระหว่างพนักงานอัยการ ผู้เสียหาย และหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุ เพื่อประสานกับทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมทั้งภายในประเทศ ต่างประเทศ และในระดับระหว่างประเทศ ในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายคดีค้ามนุษย์และให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาข้อกฎหมาย รวมทั้งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคดีค้ามนุษย์

ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ

1. การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์

 

• คุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการที่เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครอง จำนวน 148 คน แบ่งเป็น เพศหญิง จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 81.1 และเป็นเพศชาย จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 18.9 เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำนวน 146 คน และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ จำนวน 2 คน

• ลดระยะเวลาการคุ้มครองในสถานคุ้มครองจาก 158 วันในปี 2563 เป็น 143 วันในปี 2564 ทั้งนี้ เนื่องจากประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินคดีที่รวดเร็วประกอบกับการวางแผนและการประเมินร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้เสียหายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เสียหายไม่ต้องอยู่ในสถานคุ้มครองนานเกินความจำเป็น

• ให้อิสระในการเดินทางเข้าออกสถานคุ้มครองของผู้เสียหาย โดยออกบัตรประจำตัวให้ผู้เสียหายที่เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครอง จำนวน 77 คน ประกอบด้วย ผู้เสียหายสัญชาติเมียนมา จำนวน 35 คน กัมพูชา จำนวน 1 คน ลาว จำนวน 1 คน และโรฮีนจา จำนวน 40 คน สำหรับการเดินทางออกไปทำงานนอกสถานคุ้มครองได้ แม้ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้สถานประกอบการหลายแห่งปิดรับผู้เสียหายที่ออกไปทำงานภายนอกจากการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ ผู้เสียหาย และสถานประกอบการ ในลักษณะของการอยู่กับนายจ้าง และจะมีทีมนักสังคมสงเคราะห์ของสถานคุ้มครองคอยติดตามดูแลเป็นระยะ

2. การมีส่วนร่วมขององค์กรภายนอกภาครัฐในการช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย

 

เตรียมความพร้อมให้กับผู้เสียหายเข้าสู่กระบวนการทางศาลอย่างเหมาะสม โดยความร่วมมือระหว่างทีมสหวิชาชีพทั้งจากภาครัฐรวมถึงพนักงานอัยการและองค์กรนอกภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เสียหายที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตร

3. การเยียวยาชดเชยผู้เสียหายและพยานในคดีอาญา

 

สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยานเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึงร้อยละ 153.02 และผู้เสียหายได้รับเงินเยียวยาชดเชยในฐานะผู้เสียหายและพยานในคดีอาญาเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 123.9 รวมทั้งได้พัฒนาคู่มือสิทธิผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา 5 ภาษา เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้เสียหายจะทราบถึงสิทธิอื่นๆ ของตนเองได้

4. การพัฒนากลไกการส่งต่อการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ระดับชาติ

 

ขับเคลื่อนและพัฒนากลไกการทำงานเพื่อสร้างระบบการคุ้มครองช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพและเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับกลไกการส่งต่อระดับชาติ การคิดรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมในห้วงระยะเวลาการฟื้นฟูไตร่ตรอง รวมถึงการสร้างช่องทางเรียนรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานผ่าน e-learning

ด้านการป้องกัน

1. การพัฒนากฎหมายสำคัญ เช่น

 

• แก้ไขกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล .. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มมาตรการคุ้มครองลูกจ้างที่ไปทำการประมงนอกน่านน้ำให้ได้รับการคุ้มครองเกี่ยวกับค่าจ้าง สวัสดิการและความปลอดภัย และกำหนดให้มีการจดทำสัญญาจ้างที่มี 2 ภาษา เป็นไปตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง .. 2007 ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล

• พัฒนากฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับสิทธิคนต่างด้าวในการจัดตั้งสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ .. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาตอ่รอง เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านแรงงานสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และส่งเสริมเสรีภาพและรับรองสิทธิแรงงานในการร่วมเจรจาต่อรองให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงาน ILO

2. การสร้างความตระหนักรู้ให้คนหางาน

 

สร้างความตระหนักรู้ให้คนหางานผ่านการประชาสัมพันธ์การรณรงค์ในรูปแบบสื่อวิดีทัศน์การค้ามนุษย์ใกล้ตัวกว่าที่คิดโดยถอดบทเรียนจากผู้เสียหายที่ถูกหลอกผ่านสื่อออนไลน์ไปเป็น SCAMER ที่มีสถิติการถูกหลอกผ่านระบบออนไลน์ โดยมีจำนวนผู้เข้าชม 187,297 ครั้ง ยอดแสดงความรู้สึก (Like) 1,859 ครั้ง และได้แสดงความคิดเห็นเชิงป้องกัน (Comment) 51 ครั้ง

3. การบริหารจัดการแรงงาน

ต่างด้าว

 

พิจารณาคำขอและจัดทำทะเบียนคนต่างด้าวที่ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน โดยมีแรงงานต่างด้าวยื่นขอและได้รับอนุญาตทำงาน จำนวน 401,708 คน/730,606 ครั้ง ตรวจสอบการทำงานคนต่างด้าว จำนวน 741,357 คน และสถานประกอบการ จำนวน 56,186 แห่ง และสร้างความตระหนักรู้และจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในภาคประมง โดยส่งเสริมแรงงานประมงและนายจ้างให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมายไม่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ จำนวน 179,595 คน

4. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย

 

ส่งเสริมพัฒนาและกำกับดูแลแรงงานกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จำนวน 43,932 คน พัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี จำนวน 729 แห่ง และส่งเสริมให้ความรู้แก่แรงงานนอกระบบเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จำนวน 100 คน

 

BANPU 720x100AXA 720 x100

 

        2.แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป เช่น

 

ด้าน

 

แผนการดำเนินงาน

1. ด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย

 

- เพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและบริบทต่างๆ โดยการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการเชิงรุกในการดำเนินคดีและตัดสินลงโทษผู้ค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์ให้ครอบคลุมทุกรูปแบบ และเพิ่มศักยภาพหน่วยปราบปรามการค้ามนุษย์แก่ตำรวจในระดับพื้นที่

- ใช้แนวทางการการยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลางและคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจ นอกจากนี้ ให้มีการคุ้มครองช่วยเหลือเด็กที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ทางอินเทอร์เน็ต

- ควรมีการประชุมถอดบทเรียนแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในแผนฯ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานและแนวทางการขับเคลื่อนแผนฯ

2. ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ

 

- ขับเคลื่อนแนวทางกลไกการส่งต่อระดับชาติ และระยะเวลาการฟื้นฟูและไตร่ตรองอย่างเป็นรูปธรรมและนำไปสู่การปฏิบัติ

- สร้างความมั่นใจสำหรับผู้เสียหายกลุ่มผู้ใหญ่ที่จะเข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองว่าจะมีอิสระในการเดินทางเข้าออกและอิสระในการติดต่อสื่อสารรวมถึงมีแนวทางการส่งต่อบริการและเพิ่มโอกาสการทำงานเมื่อผู้เสียหายพร้อมจะเข้าสู่ระบบการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม

- สร้างความมั่นใจว่าสถานคุ้มครองของรัฐและเอกชนจะให้บริการกับผู้เสียหายโดยคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหาย โดยการฝึกอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองให้ครบทุกคน

- ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งอัยการและองค์กรนอกภาครัฐเพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการเตรียมการสำหรับกระบวนการทางศาลอย่างเหมาะสม

3. ด้านการป้องกัน

 

- ยกระดับศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงานโดยได้มีแผนการจัดสรรอัตรากำลังเพิ่มเติมให้กับสำนักงานเลขานุการศูนย์ฯ เป็นแผนงานที่เร่งด่วนเพื่อให้การปฏิบัติงานมีความคล่องตัวมากขึ้น

- จัดทำระบบรับเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียนการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน การบริหารจัดการข้อมูล และการส่งต่อคดี โดยได้เร่งดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงกับระบบรับเรื่องร้องทุกข์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

- จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของรัฐบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ

 

_____________________

*การนำคนลงเป็นทาสเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ .. 2551 ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่ผู้หนึ่งผู้ใดได้อ้างสิทธิเหนือบุคคลอีกคนหนึ่งโดยเด็ดขาดในการจำกัดเสรีภาพในร่างกายโดยความไม่สมัครใจของผู้นั้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8351

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!