หมวดหมู่: การตลาด

9952 BIMobject 01


นักศึกษาจากล้านนา คว้าที่ 1 โครงการประกวดแบบ ‘BIMobject Green Design Competition 2022’

‘CPAC Green Solution’ ร่วมสนับสนุนพร้อมมอบเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 400,000 บาท

          เรียกว่าประสบความสำเร็จเกินคาด! สำหรับโครงการประกวดแบบ “BIMobject Green Design Competition 2022” ครั้งแรก! ของการประกวดแบบ BIM ระดับประเทศ ที่ให้นิสิต-นักศึกษาทั่วฟ้าเมืองไทยมาร่วมมือกันสร้างสรรค์การก่อสร้างสีเขียว ภายใต้ธีม “Green Construction” ล้ำ เปลี่ยน โลก ผ่านการนำกระบวนการ BIM และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ร่วมกับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม เเละการก่อสร้างด้วยระบบ Modular 

          โดยงานนี้ได้รับความสนใจจากเหล่านิสิต-นักศึกษาที่แท็กทีมส่งผลงานกันมากว่า 70 ทีม และคัดเหลือเพียง 10 ทีมสุดท้ายในการร่วมโชว์ศักยภาพ การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบสิ่งก่อสร้าง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ตอบรับกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ได้อย่างยั่งยืน ภายใต้โจทย์การออกแบบ Green Co-Living Space-ชุมชนสีเขียว, Green Material-การเลือกใช้วัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ Green Construction-การออกแบบอาคารโดยใช้กระบวนการ BIM ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 400,000 บาท จัดขึ้นโดย BIMobject Thailand พร้อมด้วย CPAC Green Solution ในฐานะผู้สนับสนุนหลักฯ ซึ่งผู้ที่ประเดิมคว้ารางวัลชนะเลิศไปครองเป็นของทีม คณะลาบ ประกอบด้วยสมาชิกในทีม ได้แก่ นายอุดมศักดิ์ คำหล้า, นายจิรพัช พรหมแก้ว และ นายธนพงศ์ ลิ่วยอดสิงขร นักศึกษาชั้นปีที่ 5 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (เชียงใหม่) กับผลงานสุดโฮมมี่ที่ชื่อว่า “HomeWork” 

 

9952 CPAC Kanlaya

 

          นางสาวกัลยา วรุณโณ Green Solution and New Business Marketing Director CPAC Green Solution ในฐานะผู้สนับสนุนหลักโครงการประกวดฯ กล่าวว่ายินดีกับน้องๆ ทุกคนที่ได้รับรางวัลในวันนี้ ทาง CPAC Green Solution เอง รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้สนับสนุนการประกวดโครงการ BIMobject Green Design Competition 2022 ในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนผลักดันในการขับเคลื่อนแนวทาง ESG และเป็นการปลูกฝังให้เหล่านิสิต-นักศึกษา หรือคนรุ่นใหม่ได้ใส่ใจในสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังได้มอบประสบการณ์และความรู้ ทั้งในด้านการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เปลี่ยน Waste หรือความสูญเสียให้เป็น Value หรือการสร้างผลประโยชน์คืนกลับสู่สังคม เพื่อยกระดับมาตรฐานการก่อสร้างของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน

          “CPAC Green Solution มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดัน Green Construction ผ่านการให้ความรู้เชิงปฏิบัติงานจริง ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย ได้แก่ CPAC Precast Concrete System Solution, CPAC 3D Printing Solution เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการประกวด ผ่านโจทย์การออกแบบ Green Co-Living Space ชุมชนสีเขียวซึ่งประกอบด้วยอาคาร Low-Rise ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยประมาณ 9 ยูนิต พื้นที่ใช้สอยประมาณ 500 ตร.., Green Material การเลือกใช้วัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย และ Green Construction ใช้กระบวนการ BIM ในการออกแบบอาคาร โดยต้องคำนึงถึงการใช้ระบบ Prefabricated ผสมผสานการใช้เทคโนโลยี 3D Printing”

 

9952 BIMobject 04

 

          ทั้งนี้ ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ดร.วิลสา วิจิตรวาทการ กรรมการผู้จัดการ BIMobject Thailand ร่วมงาน พร้อมด้วย ดร.ทศพร ศรีเอี่ยม ผู้อำนวยการสถาบัน BIM ในวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย, ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC), นายไพทยา บัญชากิติคุณ Managing Director Atom Design, นางสาวกัลยา วรุณโณ Green Solution and New Business Marketing Director – Marketing and Branding, Cement and Green Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี และนายธงชาติ ชินสีห์ Managing Director Hook Architects & Goodwill of Work Company Limited ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน ห้อง Amber 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี พร้อมเผยผลผู้ชนะรางวัลต่างๆ ดังนี้

 

9952 BIMobject 03

 

          - ผู้ชนะเลิศ อันดับที่ 1 เงินรางวัล 200,000 บาท พร้อมคอร์สอบรม Autodesk Revit Learning Path มูลค่า 45,000 บาท ได้แก่ นายอุดมศักดิ์ คำหล้า, นายจิรพัช พรหมแก้ว และ นายธนพงศ์ ลิ่วยอดสิงขรทีมคณะลาบนักศึกษาชั้นปีที่ 5 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (เชียงใหม่

          - รองชนะเลิศ อันดับที่ 2 เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมคอร์สอบรม Autodesk Revit Learning Path มูลค่า 45,000 บาท ได้แก่ นายเอกดนัย รถกิจ และนายธนธรรศ รัตนอำนวยศิริทีม Parimonton Architects” นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          - รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมคอร์สอบรม Autodesk Revit Learning Path มูลค่า 45,000 บาท ได้แก่ นางสาวพิมพ์ชนก ประวันไหว้, นายอัษฎาวุธ ภูมิลา และ นางสาววาทินี แนบพลกรังทีมใหญ่จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

          - นอกจากนี้ยังมี รางวัลชมเชย รางวัลละ 10,000 บาท อีก 7 รางวัล รวมมูลค่าทั้งสิ้น 420,000 บาท

 

9952 BIMobject คณะลาบ01

 

          นายอุดมศักดิ์ คำหล้า ตัวแทนจากทีมคณะลาบผู้ชนะเลิศการประกวดฯ เผยถึงการเข้าร่วมการประกวดแบบ BIM ครั้งนี้ว่ารู้สึกภูมิใจมากกับรางวัลที่ได้มา ต้องขอบคุณเพื่อนๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีและพากันมาทำตามความฝันได้อีกก้าว ซึ่งตอนแรกๆ เรายังใช้งาน BIM ไม่คล่อง ก็มีไปใช้ AutoCAD หรือโปรแกรมอื่นบ้าง แต่พอลองกลับมาใช้ BIM อีกครั้ง ก็รู้สึกถึงความรวดเร็วในเรื่อง Compact ที่สามารถทำงานครบจบในโปรแกรมเดียวได้ ยิ่งได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดฯ ครั้งนี้ ก็ยิ่งทำให้เห็นเลยว่าการใช้ BIM ในการก่อสร้างอาคาร มันสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและว่องไวมากๆ

 

9952 BIMobject คณะลาบ02

 

          “สำหรับผลงาน “HomeWork” เราได้แรงบันดาลใจมาจากบริบทในเมืองเชียงใหม่ โดยหยิบยกความเป็นซิกเนเจอร์ของบ้านล้านนาสมัยก่อนมาใช้ในการออกแบบ เพราะรู้สึกว่าเป็นบ้านที่มีความสมบูรณ์ มีความโฮมมี่ ทำให้รู้สึกถึงความอบอุ่น คิดถึงภาพวันเก่าๆ ทั้งนี้เราได้นำกระบวนการที่ได้จากการเรียนรู้ในกิจกรรมต่างๆ มาปรับใช้ในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรม Boot Camp อาทิ การใช้โปรแกรมแบบโซล่าร์ การ Analysis หรือการเรียนรู้ที่จะใช้โปรดักส์จาก CPAC Green Solution ในการนำมาปรับใช้ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าเป็นการปลูกฝังการให้ความสำคัญกับเรื่องของ Green Design Green Construction และ Green Architectures ได้เป็นอย่างดี เพราะจะช่วยส่งเสริมในเรื่องของ Well-being ให้ทั้งผู้อยู่อาศัย และเกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนในอนาคตได้

 

9952 BIMobject ParimontonArchitects01

 

          ด้าน นายเอกดนัย รถกิจ ตัวแทนจากทีม “Parimonton Architects” ผู้ได้รางวัลรองชนะเลิศ เผยว่าสำหรับการประกวดแบบ BIMobject Green Design Competition ครั้งนี้ เหมือนเราได้ลอง Explore โลกใหม่ๆ ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ไม่เคยรู้ว่าในการออกแบบอุตสาหกรรมนี้ มันมีมิติในการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมยังไงบ้าง พอได้มาประกวดงานนี้ ก็ได้เรียนรู้ในการทำ Simulation เรียนรู้กับวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ได้รู้จักข้อจำกัดของวัสดุต่างๆ ในการก่อสร้างอาคารเขียวมากขึ้น โดยเฉพาะการออกแบบด้วย BIM ช่วงแรกๆ จะรู้สึกยาก แต่พอได้เรียนรู้และเริ่มทำความเข้าใจได้มากขึ้น ก็รู้สึกว่ามันง่ายกว่าวิธีเดิมๆ เพราะพอเป็นวิธีเดิมๆ มันจะมีความผิดพลาดของงานค่อนข้างมาก พอได้เรียนรู้ BIM เริ่มเข้าใจจะเห็นว่าความผิดพลาดน้อยลง เรียกว่าเป็นวิธีที่เหมาะกับการนำไปใช้ทำแบบจริงๆ

          “ที่สำคัญคือประทับใจการประกวดโครงการนี้ ตั้งแต่เริ่ม Consult ในวันแรกจนถึงวันนี้เลย ต้องขอบคุณอาจารย์ทุกท่านมากๆ ที่ทำให้เราได้กลับไปพัฒนาผลงานต่อให้ดีจนได้รางวัลในวันนี้ รู้สึกสนุกและประทับใจมากครับ

 

A9952

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!