หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 5

รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 15 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2565)

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เสนอ รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 15 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2565) และเสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป

        รายงานดังกล่าวประกอบด้วยสาระสำคัญรวม 4 ส่วน ได้แก่ 1) สรุปภาพรวมการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 2) ความคืบหน้าการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 3) ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษและ 4) การดำเนินการในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้

        1. สรุปภาพรวมการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)

        สศช. ได้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ จากการที่หน่วยงานรับผิดชอบหลักได้รายงานความคืบหน้าของการดำเนินการกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ที่มีการระบุเป้าหมายย่อยของความสำเร็จ (Milestone : MS) ระดับความสำเร็จตามระยะเวลาแล้วเสร็จ ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) โดยมีสถานะความคืบหน้าการดำเนินการของกิจกรรม Big Rock รวมทั้งสิ้น 62 กิจกรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำกับติดตามและเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย 1) กิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผนรวม 55 กิจกรรม และ 2) กิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน รวม 7 กิจกรรม สรุปได้ดังนี้

             1.1 ด้านการเมือง ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรมโดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 3 กิจกรรม และกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0103) การสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 (BR0104) การส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมือง โดยกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0103) ซึ่งสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (...) อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง โดยศึกษาเปรียบเทียบจากทฤษฎี เอกสารทางวิชาการ เหตุการณ์ความขัดแย้ง และวิธีการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยหน่วยงานจะต้องเร่งสรุปผลการศึกษาต่างๆ สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำข้อเสนอในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของประชาชนและขจัดความขัดแย้งทางการเมืองในสังคม เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 2 (MS2) ที่กำหนดให้มีชุดความรู้ และข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสามัคคีปรองดอง ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

             1.2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0203) ปรับเปลี่ยนการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสู่ระบบเปิด เพื่อให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งคนเก่ง ดี และมีความสามารถอย่างคล่องตัวตามหลักคุณธรรม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน . ) ได้จัดทำ กฎ .. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล .. 2565 และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 เพื่อให้มีหลักเกณฑ์การพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือคำอธิบายกฎ .. ฉบับดังกล่าว เพื่อวางแนวทางการดำเนินการให้แก่ส่วนราชการที่สนใจเข้าร่วมพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้มีการศึกษาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐที่สนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียน สับเปลี่ยน ถ่ายเทกำลังคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

aia 720 x100


             1.3 ด้านกฎหมาย ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 3 กิจกรรม และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 (BR0302) จัดให้มีกลไกทางกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และกิจกรรมที่ 5 (BR0305) จัดทำประมวลกฎหมายเพื่อรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการใช้งานโดยกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 (BR0305) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก .. .... ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 โดยเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วจะต้องนำเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อรัฐสภาตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่ให้เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก .. …. ต่อรัฐสภา และคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

             1.4 ด้านกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 4 กิจกรรม และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 1 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0403) การจัดหาทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจให้ครบทุกสถานีทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันสภาทนายความได้จัดให้มีทนายความให้คำปรึกษาในสถานีตำรวจเรียบร้อยแล้ว จำนวน 203สถานี คิดเป็นร้อยละ 13.70 ของสถานีตำรวจทั่วประเทศ จาก 1,482 สถานี ซึ่งหน่วยงานควรหารือกับกระทรวงยุติธรรมถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้ขยายผลให้มีทนายความให้คำปรึกษาในสถานีตำรวจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของสถานีตำรวจทั่วประเทศ และคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

             1.5 ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0503) การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กในอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย ซึ่งบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้มีการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 (MICRO 4) วงเงินค้ำประกัน 25,000 ล้านบาท โดยมีวงเงินอนุมัติค้ำประกันสะสม ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 23,361 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายสะสมที่กำหนดไว้ที่ 7,500 ล้านบาท อยู่จำนวน 15,861 ล้านบาท และมีจำนวนลูกค้า SME จำนวน 193,028 ราย ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินจากการค้ำประกัน 23,455 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SME

             1.6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 4 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 4 (BR0604) ปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด ซึ่งกรมควบคุมมลพิษว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาในโครงการประเมินผลเพื่อยกเลิกเขตควบคุมมลพิษตามแผนการปฏิรูปประเทศโดยที่ปรึกษาฯ อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล และจัดการหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4 กลุ่มย่อย (Focus Group) ประกอบด้วย (1) ภาคประชาชน (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) หน่วยงานในคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานพื้นที่เขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยองและ (4) ภาคอุตสาหกรรม เพื่อวิเคราะห์การรับรู้และความคิดเห็นต่อการยกเลิกเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 2 (MS2) ที่กำหนดให้มีการประกาศยกเลิกเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด

             1.7 ด้านสาธารณสุข ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0703)การปฏิรูประบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้านการบริบาลการรักษา พยาบาลที่บ้าน/ชุมชน และการดูแลสุขภาพตนเองในระบบสุขภาพปฐมภูมิเชิงนวัตกรรม โดยกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการสร้างและบริหารจัดการผู้บริบาลผู้สูงอายุ และเครือข่ายความร่วมมือการสร้างผู้บริบาลผู้สูงอายุที่เชื่อมโยงระดับพื้นที่ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบโปรแกรม Long Term Care (3C) เพื่อรองรับการลงทะเบียนของผู้บริบาลผู้สูงอายุ และออกแบบเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้มีระบบและกลไกการสร้างและบริหารจัดการผู้บริบาลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ

 

AXA 720 x100

 

             1.8 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 3 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 (BR0802) การกำกับดูแลสื่อออนไลน์ ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีการดำเนินการเฝ้าระวังเว็บไซต์ผิดกฎหมาย และ Facebook Fanpage “อาสา จับตา ออนไลน์เพื่อการแก้ปัญหาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง (สถาบันพระมหากษัตริย์) และอาชญากรรมอื่นๆ ที่แพร่หลายมากมายในโลกโซเชียล ซึ่งประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบเฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแสข้อมูลเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนสื่อออนไลน์ โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ซึ่งหน่วยงานสามารถเฝ้าระวังติดตาม กำกับดูแลเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารในสื่อทุก รูปแบบอย่างเข้มข้น ทันสถานการณ์ คุ้มครองสิทธิของผู้ผลิตเนื้อหา และจัดเก็บพยานหลักฐานการกระทำความผิดบนโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบ และเป้าหมายย่อยที่ 2 (MS2) สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบเฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแสข้อมูลเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

             1.9 ด้านสังคม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรมโดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0903) การปฏิรูปการขึ้นทะเบียนคนพิการ เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิสวัสดิการและความช่วยเหลือได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคุณภาพคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการปรับคำนิยามคนพิการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และการจัดทำระบบการเชื่อมโยงข้อมูลด้านสิทธิ สวัสดิการคนพิการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีแผนจะขยายหน่วยงานเชื่อมโยงข้อมูลเพิ่มเติม โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่ให้มีการกำหนดคำนิยามคนพิการซึ่งปัจจุบันมีความแตกต่างกันแต่ละหน่วยงาน และเป้าหมายย่อยที่ 4 (MS4) ระบบฐานข้อมูลคนพิการสามารถเชื่อมโยงระหว่างสถานพยาบาลกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ภายในปี 2565

             1.10 ด้านพลังงาน ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรมโดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 (BR1001) ศูนย์อนุมัติอนุญาตเบ็ดเสร็จ One-Stop-Service ด้านกิจการไฟฟ้าที่แท้จริงซึ่งกระทรวงพลังงานมีการปรับปรุง Licensing Scheme กระบวนการอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าชธรรมชาติ เพื่อปรับปรุงประเภทใบอนุญาตให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน และปรับลดระยะเวลา ขั้นตอน และเอกสารการขอรับใบอนุญาต โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่ให้มีการจัดตั้งเป็น One Stop Service อย่างแท้จริง

             1.11 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 3 กิจกรรม และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 2 กิจกรรมได้แก่ กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 (BR1102) การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 (BR1104) การพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใสไร้ผลประโยชน์ โดยกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 (BR1102) ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่ระหว่างการนำ (ร่าง) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ .. 2540 เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อพิจารณาอีกครั้งก่อนนำเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และนำเสนอต่อรัฐสภาต่อไป โดยหน่วยงานจะต้องเร่งรัดการแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ และข้อคิดเห็นของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้แล้วเสร็จ และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่ประชาชนในวงกว้างสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวกผ่านการผลักดันการออกกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารสาธารณะที่ประชาชนควรได้รับทราบข้อมูลข่าวสารโดยไม่ต้องร้องขอและหน่วยงานภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลในครอบครองผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้

             1.12 ด้านการศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรมโดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 (BR1201) การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ซึ่งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาได้มีระบบหลักประกันโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Data) โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กยากจนพิเศษ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่เข้ามาสู่ระบบการคัดกรอง (PMT) โดยได้มีระบบการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศ อย่างต่อเนื่องและได้นำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อยของกระทรวงการคลัง และการส่งต่อข้อมูลของนักเรียนกลุ่มยากจนพิเศษ/ด้อยโอกาสไปยังหน่วยงานที่สามารถรับช่วงต่อในการดูแลต่อไป โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 4 (MS4) มีการสร้างระบบหลักประกันโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

             1.13 ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 (BR1302) การพัฒนาการเรียนรู้และเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรมแบบบูรณาการ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมมีการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรม โดยการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทยสู่สากล รวมทั้งได้มีการเปิดพื้นที่ให้กับความสร้างสรรค์การแสดงสินค้าและการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ใช้แรงบันดาลใจจากเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 3 (MS3) ที่กำหนดให้มีการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่กลับมาสร้างรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับท้องถิ่น ผ่านการทำงานแบบบูรณาการที่มีการปฏิรูปกระบวนการนำโครงการทางวัฒนธรรมลงสู่พื้นที่เป็นหลัก

 

TU720x100

 

        2. ความคืบหน้าการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) จำนวน 45 ฉบับ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งมีสถานะความคืบหน้าของกฎหมาย ประกอบด้วย (1) ดำเนินการแล้วเสร็จ รวม 4 ฉบับ โดยเป็นกฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เดือนธันวาคม 2564 จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย .. 2564 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล .. 2564 และกฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จเพิ่มเติม จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ กฎ .. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล .. 2565 โดยได้ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 และประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำ/ ข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (TPA Framework Guideline) โดยได้ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 (2) อยู่ระหว่างการดำเนินการ รวม 41 ฉบับ ซึ่งมีกฎหมายที่มีสถานะการจัดทำ ปรับปรุงคืบหน้ากว่ารอบรายงาน ครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 5 ฉบับ ทั้งนี้ ยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างหน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย จำนวน 28 ฉบับ โดย สศช. จะดำเนินการประสานหน่วยงานผู้รับผิดชอบ เพื่อติดตามและเร่งรัดการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

        3. ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ

        สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อการรายงานความคืบหน้าฯ ครั้งที่ 13 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 และครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564) ซึ่ง สศช. ได้สรุปความเห็นและประเด็นอภิปรายในภาพรวม ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการรายงานฯ ให้สามารถแสดงให้เห็นความคืบหน้าของการปฏิรูปประเทศที่ชัดเจนและแสดงให้เห็นผลสัมฤทธิ์การดำเนินการในแต่ละประเด็นการปฏิรูปที่เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม การเร่งรัดผลความก้าวหน้าของการยกร่างและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศเพื่อลดอุปสรรคในการดำเนินงานและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง เช่น ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดการข้อมูลข่าวปลอม .. .... และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ .. .... ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินการในระยะต่อไปของการปฏิรูปประเทศ ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องนำประเด็นปฏิรูปไปดำเนินการตามภารกิจปกติของหน่วยงานให้การปฏิรูปประเทศสัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ โดย สศช. จะนำความเห็นและประเด็นอภิปรายดังกล่าว รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่ได้จากคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศและการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ในการประชุมวุฒิสภาสมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนไปเป็นแนวทางประกอบการเร่งรัด กำกับ และติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนการปฏิรูปประเทศให้บรรลุเป้าหมาย และใช้เป็นข้อมูลประกอบการรายงานความคืบหน้าฯ ในรอบการรายงานต่อไป

        4. การดำเนินการในระยะต่อไป

        สศช. จะดำเนินการประสานการติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินการตามกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ทั้ง 13 ด้าน ร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ตลอดทั้งผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะบรรลุในปี 2565 ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯรวมทั้งกำกับติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าข้อมูลแผนงาน/โครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการในระดับโครงการ และหน่วยงานรับผิดชอบหลักต้องประมวลผลความก้าวหน้าของโครงการในภาพรวมกิจกรรม Big Rock โดยรายงานความก้าวหน้าในระดับเป้าหมายย่อย (MS) ระดับความสำเร็จเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่กำหนด ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ รวมทั้งข้อเสนอแนะในระบบ eMENSCR อย่างต่อเนื่องในทุกสิ้นไตรมาส และ สศช. จะดำเนินการสรุปประมวลผลข้อมูลดังกล่าวประกอบการจัดทำรายงานความคืบหน้าฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรายงานรัฐสภาทราบในรอบการรายงานต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8352

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

PTG 720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!