หมวดหมู่: พาณิชย์

16 ส่งออก


พาณิชย์ ส่งออกอาหารจากพืช ไทยอันดับ 6 แนะพัฒนาสินค้าเพิ่ม คาดยอดกระฉูดแน่

     สนค.ติดตามการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารจากพืช พบไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 6 ของโลก ส่งออกปี 64 มูลค่า 2,852 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วน 4.1% ของมูลค่าส่งออกทั้งโลก เผยเครื่องดื่มเป็นกลุ่มที่ส่งออกได้ดีสุด ตามด้วยอาหารปรุงแต่ง และโปรตีนเข้มข้น แนะต่อยอดพัฒนาสินค้า นมจากพืชเป็นเนย ชีส โยเกิร์ต ไอศกรีม ครีมเทียมจากพืช นมมะพร้าวออร์แกนิก เนื้อจากจากพืช ผงโปรตีนจากพืช จะทำให้มีโอกาสส่งออกได้มากขึ้น รวมถึงกลุ่มอาหารพร้อมทานจากพืช

       นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ศึกษาติดตามแนวโน้มสถานการณ์การค้าและการส่งออกอาหารจากพืช หรือแพลนต์เบสต์ฟู้ด (Plant Based Foods) และโอกาสทางการค้าของไทย ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่มุ่งเน้นการผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของโลก เพื่อยกระดับอาหารไทยเป็นอาหารโลก

พบว่า ไทยมีการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเป็นผู้ส่งออกอันดับ 6 ของโลก มีการส่งออกในปี 2564 มูลค่า 2,852 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 4.1% ของมูลค่าการส่งออกทั้งโลกในปี 2564 ที่มีมูลค่า 69,297 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยอันดับ 1 คือ สหรัฐฯ มูลค่า 8,040 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 11.6% รองลงมา คือ สิงคโปร์ มูลค่า 6,544 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 9.4% เยอรมนี มูลค่า 5,966 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 8.6% เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 5,358 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 7.7% และจีน มูลค่า 2,960 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 4.3% โดยผู้นำเข้าสำคัญ 5 รายแรกของโลก คือ สหรัฐฯ จีน เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และแคนาดา มีสัดส่วนของมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 12.2% , 6.9% , 4.4% , 3.8% และ 3.5% ของมูลค่าการนำเข้าของทั้งโลกตามลำดับ

    ทั้งนี้ สินค้าแพลนต์เบสต์ฟู้ด ยังไม่มีพิกัดศุลกากรแยกเฉพาะ สนค. ได้ใช้พิกัดศุลกากรระดับพิกัด 6 หลัก กำหนดโดยองค์การศุลกากรโลก เพื่อให้ประเภทสินค้าตรงกันและสามารถเปรียบเทียบกัน โดยสินค้าโปรตีนจากพืชจะอยู่ภายใต้ประเภทและพิกัดศุลกากร 3 กลุ่มหลัก คือ 1.อาหารปรุงแต่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ที่อื่น (พิกัดฯ 2106.90) เช่น เต้าหู้ ครีมเทียม 2.เครื่องดื่มอื่น ๆ (พิกัดฯ 2202.99) เช่น นมถั่วเหลือง และ 3.โปรตีนเข้มข้นและสารเทกซ์เจอร์โปรตีน (พิกัดฯ 2106.10) เช่น ผงโปรตีนจากพืช เนื้อจากพืช

      โดยจากการแยกกลุ่มดังกล่าว พบว่า สินค้ากลุ่มใหญ่สุดที่มีการส่งออก คือ กลุ่มอาหารปรุงแต่งอื่น ๆ มีมูลค่า 52,916 ล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ส่งออกสำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐฯ และเยอรมนี รองลงมา คือ เครื่องดื่ม มีมูลค่า 13,289 ล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ไทย และเนเธอร์แลนด์ และโปรตีนเข้มข้นและสารเทกซ์เจอร์โปรตีน มีมูลค่า 3,092 ล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และเนเธอร์แลนด์

      สำหรับ รายละเอียดการส่งออกของไทย ในปี 2564 ที่มีมูลค่า 2,852 ล้านเหรียญสหรัฐ พบว่า สินค้ากลุ่มใหญ่สุดที่ไทยส่งออก คือ 1.เครื่องดื่ม มีมูลค่า 1,502 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 52.7% ของการส่งออกทั้งหมด ตลาดส่งออกสำคัญ คือ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา จีน และ สปป.ลาว 2.อาหารปรุงแต่งอื่น ๆ มีมูลค่า 1,347 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 47.2% ตลาดส่งออกสำคัญ คือ สหรัฐฯ จีน เมียนมา ญี่ปุ่น และกัมพูชา และ 3.โปรตีนเข้มข้นและสารเทกซ์เจอร์โปรตีน มีมูลค่า 2.3 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 0.1% ตลาดส่งออกสำคัญ คือ ฮ่องกง ไต้หวัน จีน สหรัฐฯ และเมียนมา ตามลำดับ

       นายพูนพงษ์ กล่าวว่า สินค้าที่ไทยมีขีดความสามารถในการส่งออก คือ สินค้าเครื่องดื่ม ซึ่งนมจากพืชอยู่ในกลุ่มนี้ โดยไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก มีมูลค่าส่งออก 1,502 ล้านเหรียญสหรัฐ รองจากสวิตเซอร์แลนด์ มูลค่า 1,953 ล้านเหรียญสหรัฐ และนมจากพืชเป็นสินค้ากลุ่มใหญ่สุดในตลาดอาหารโปรตีนจากพืช โดยปัจจุบันไทยส่งออกนมถั่วเหลืองเป็นหลัก ยังมีโอกาสที่ไทยสามารถพัฒนาสินค้านมจากพืชให้หลากหลายและช่วยสนับสนุนภาคเกษตรไทย อีกทั้งสามารถต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์นมที่ทำจากพืช เช่น เนย ชีส โยเกิร์ต และไอศกรีม

       ส่วนกลุ่มอาหารปรุงแต่ง มีสินค้าสำคัญในกลุ่มนี้ที่ไทยส่งออก เช่น ครีมเทียม ปี 2564 ส่งออกมูลค่า 323 ล้านเหรียญสหรัฐ หากพัฒนาสินค้าครีมเทียมของไทยเป็นครีมเทียมจากพืช ก็จะตอบโจทย์แนวโน้มตลาดที่มีความต้องการโปรตีนจากพืชมากขึ้น นมมะพร้าวออร์แกนิก เป็นอีกสินค้าที่น่าสนใจในกลุ่มนี้ มีมูลค่าการส่งออกเติบโตสูง จาก 0.014 และ 0.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเป็น 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 2563 และ 2564 ตามลำดับ

       ขณะที่เต้าหู้ มูลค่าการส่งออกค่อนข้างคงตัว 2-3.5 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และจากข้อมูลของสมาคมอาหารจากพืชของสหรัฐอเมริกา (PBFA) ในปี 2564 มูลค่ายอดขายสินค้าอาหารจากพืชในตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวทุกกลุ่ม ยกเว้น กลุ่มเต้าหู้และถั่วเหลืองหมัก ที่หดตัว

      สำหรับ สินค้ากลุ่มโปรตีนเข้มข้นและสารเทกซ์เจอร์โปรตีน เช่น เนื้อจากจากพืช ผงโปรตีนจากพืช สินค้ากลุ่มนี้ ไทยยังมีมูลค่าการส่งออกน้อย สามารถพัฒนาศักยภาพการส่งออกและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไทย โดยเฉพาะกลุ่มผงโปรตีนจากพืช ซึ่งการผลิตผงโปรตีนมีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมากหากเทียบกับการผลิตเนื้อเทียมจากพืช สามารถส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยของไทยในการผลิตและส่งออกได้

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!