หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 06


การดำเนินการตามมติข้อตัดสินใจในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 16 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 11 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 11

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองการเสนอให้มีการแก้ไขภาคผนวกที่ 3 ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีส่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ) และการแก้ไขภาคผนวก เอ ของอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ) ตามพันธกรณีในข้อบทที่ 22 การรับรองและการแก้ไขภาคผนวก ของทั้งสองอนุสัญญา รวมทั้งเห็นชอบการดำเนินการตามมติข้อตัดสินใจในการประชุมรัฐภาคีของสามอนุสัญญา และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอเรื่องนี้ เพื่อให้การดำเนินการของประเทศไทยเป็นไปตามมติข้อตัดสินใจในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ) สมัยที่ 11 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ) สมัยที่ 11 ในระหว่างวันที่ 1 - 12 พฤษภาคม 2566 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยขอให้มอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก) รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง สรุปดังนี้

 

ข้อตัดสินใจของรัฐภาคีอนุสัญญา

 

การดำเนินการของประเทศไทย

 

หมายเหตุ

เพิ่มรายชื่อสารเคมีในภาคผนวกที่ 3 ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ (สารเคมีที่ต้องแจ้งสำนักเลขาธิการอนุสัญญาก่อนการนำเข้า/ส่งออก)

1

เพิ่มสาร Terbufos (สารเคมีการเกษตร)

 

- กษ. (กรมวิชาการเกษตร) จะต้องแจ้งสำนักเลขาธิการอนุสัญญา ว่าประเทศไทยจะมีกลไกในการอนุญาตให้นำเข้าสาร Terbufos อย่างไร (กษ. จะรับไปพิจารณากำหนดต่อไป)

- กำหนดเวลา : ภายใน 21 กรกฎาคม 2567

 

ประเทศไทยยังไม่มีการใช้สารดังกล่าว

เพิ่มรายชื่อสารเคมีในภาคผนวก เอ ของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ (สารเคมีที่ต้องลดและ/หรือเลิกการผลิต และการใช้ และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน)

2

เพิ่มสาร Methoxychlor (สารเคมีการเกษตร)

 

- กษ. (กรมวิชาการเกษตร) ดำเนินมาตรการควบคุมเพื่อเลิกใช้สาร Methoxychlor โดยยกระดับเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย .. 2535 (วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง)

- กำหนดเวลา : ภายใน 1 ปี หลังจากประเทศไทยได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการอนุสัญญา (ปัจจุบันยังไม่ได้รับแจ้ง)

 

สารดังกล่าวถูกกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่ต้องขออนุญาตก่อนนำไปใช้งานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมในข้อ 5.4

3

เพิ่มสาร Dechlorane Plus (ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตพลาสติกทนไฟ)

 

- อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) ดำเนินมาตรการควบคุมเพื่อลดและเลิกใช้สาร Dechlorane Plus และ สาร UV-328 โดยกำหนดเป็นวัตถุอันตรายภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย .. 2535 โดย อก. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) อาจพิจารณาแจ้งข้อยกเว้นพิเศษ (Specific exemption) ต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญา เพื่อกำหนดข้อยกเว้นพิเศษในการใช้งานสารดังกล่าวได้

- กำหนดเวลา : ภายใน 1 ปี หลังจากประเทศไทยได้รับแจ้งจากสำนักเลขาธิการอนุสัญญา (ปัจจุบันยังไม่ได้รับแจ้ง)

 

สารดังกล่าวยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายและไม่มีข้อมูลการใช้งานในประเทศไทย

4

เพิ่มสาร UV-328 (ใช้ในเป็นส่วนผสมในกระบวนการเคลือบสี)

   

สารดังกล่าวยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายแต่มีการนำเข้ามาใช้งานในบางอุตสาหกรรม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 16 กรกฎาคม 2567

 

 

7514

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!