หมวดหมู่: ท่องเที่ยว

1aaaทวพงษ วชยดษฐ


อพท.พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวมรดกโลกกินได้ ดันพื้นที่พิเศษฯ สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร เป็น Hub มรดกโลกอาเซียน

     อพท.ขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวมรดกโลกกินได้ สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน พร้อมองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เร่งขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวมรดกโลกกินได้ ชี้ให้ชุมชนเห็นถึงทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการส่งเสริมภาพลักษณ์คุณค่าเมืองมรดกโลกได้อย่างยั่งยืน พร้อมดันพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร เป็น Hub มรดกโลกอาเซียน

     นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า บทบาทหน้าที่ของ อพท. มุ่งเน้นการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายการพัฒนา ทั้งหน่วยงานภาครัฐในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมเกิดความร่วมมือในการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอย่างบูรณาการ ภายใต้การสร้างสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  

      “บทบาทหน้าที่ของ อพท. ในการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ก็เพื่อสร้างสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงทุนทางวัฒนธรรมด้วย ดังนั้น พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร หรือ อพท.4 จึงมีกรอบการพัฒนาภายใต้วิสัยทัศน์ 'เมืองมรดกโลกที่สร้างสรรค์ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและยั่งยืน' ส่งผลให้กรอบการทำงานที่ผ่านมา อพท. จะให้ความสำคัญอยู่ 3 เรื่อง คือ การสร้างสรรค์ สร้างคุณค่า และสร้างความยั่งยืน”

        นายทวีพงษ์ กล่าว สำหรับแนวทางการทำงานของอพท. จะเน้นประสานงานและบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งส่วนกลาง ระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น ภาคเอกชน และที่สำคัญที่สุดคือภาคประชาชน ซึ่งถือเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนที่จะทำให้การพัฒนามีความยั่งยืน ภายใต้นโยบายการทำงานที่ อพท. เรียกว่า Co-Creation คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ ดังนั้น สิ่งที่อพท.ได้ดำเนินการมาตลอด 7 ปีที่ผ่านมา คือการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อให้ภาคีเครือข่ายการพัฒนาเห็นถึงคุณค่าของความเป็นมรดกโลก นำไปสู่การพัฒนา “เส้นทางท่องเที่ยวมรดกโลกกินได้” ด้วยการนำเอาความเป็นมรดกโลก แหล่งโบราณสถานต่างๆ รวมถึงทุนทางวัฒนธรรมที่ถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่ยังคงอยู่ นำมาสร้างเป็นมูลค่าและรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ ส่งผลให้คนในชุมชนเกิดความรัก ความหวงแหนในทรัพยากร เกิดการอนุรักษ์และรักษาโบราณสถาน ตลอดจนสืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตของชุมชนไว้เพื่อเป็นเอกลักษณ์และสร้างมูลค่าเพิ่มจากคุณค่าเมืองมรดกโลก สุดท้ายนำไปสู่การส่งเสริมภาพลักษณ์คุณค่าเมืองมรดกโลกได้อย่างยั่งยืน

     รองผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่า สำหรับพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร ถือเป็นพื้นที่ที่ อพท.ต้องการผลักดันให้เป็นศูนย์กลาง (Hub) การท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกอาเซียน เพราะอุทยานทั้ง 3 แห่ง มีศักยภาพติดอันดับ 1 ใน 10 มรดกโลกอาเซียน ตลอดจนสุโขทัยเป็นจังหวัดและเมืองที่มีศักยภาพมาก มีสนามบินที่เปิดใช้บริการแล้วถึง 3 แห่ง คือ สนามบินพิษณุโลก สนามบินแม่สอด และสนามบินสุโขทัย อยู่ในระยะเชื่อมโยงพื้นที่มรดกโลกไม่เกิน 100 กิโลเมตร นับเป็นจุดแข็งที่สำคัญที่ทำให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร สามารถก้าวสู้การเป็น Hub ของการท่องเที่ยวมรดกโลกได้                                                                                                                                  

       “วันนี้สุโขทัย ถือว่ามีความพร้อมอย่างมากในการพัฒนาให้เป็น Hub มรดกโลกของอาเซียน ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่มีศักยภาพและเอื้ออำนวย ถือเป็นเมืองศูนย์กลางของการเดินทางในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ สามารถพัฒนาต่อยอดให้เป็นเส้นทางที่จะเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศพม่า ลาว หรือกัมพูชาได้”รองผู้อำนวยการ อพท.กล่าว

      แผนการดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่มรดกโลกในเชิงรุกของอพท. กำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและนิเวศ สู่การเป็น Hub มรดกโลกอย่างยั่งยืน โดยจะดำเนินการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์และโครงข่ายการท่องเที่ยวเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่มรดกโลก การส่งเสริม สนับสนุน และฟื้นฟูกิจกรรมการท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ศาสนา และงานหัตถกรรม ในพื้นที่มรดกโลกให้ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นด้วยการนำเสนอรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวแบบใหม่ใน 4 พื้นที่หลัก ได้แก่ วัด พิพิธภัณฑ์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมประเภทหัตถกรรม และสินค้าพื้นเมือง รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่พัก                                                                                     

       นอกจากนี้จะพัฒนาสินค้าพื้นเมืองให้ เป็นสินค้าที่ระลึกและเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว ภายใต้’แบรนด์มรดกพระร่วง’ เพื่อสร้างการรับรู้และความทรงจำต่อพื้นที่มรดกโลกให้กับกลุ่มลูกค้าเดิม ตลอดจนมีสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างลูกค้าใหม่ ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และป้ายบอกทางไปแหล่งท่องเที่ยวให้เดินทางสะดวกและปลอดภัยสามารถเชื่อมโยงกับสนามบินและเครือข่ายการขนส่งทุกระดับ รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรด้านบริการการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์มรดกโลกให้พร้อมรองรับการให้บริการในระดับสากล                     

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!