หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

BRRอนนต ตงตรงเวชกจBRRGIF เคาะราคาไอพีโอหน่วยลงทุนละ 10.30 บาท หลังประสบความสำเร็จได้รับผลตอบรับจากนักลงทุนตามเป้าหมาย

     BRRGIF กำหนดราคาไอพีโอหน่วยลงทุนละ 10.30 บาท หลังทำ Book building นักลงทุนสถาบันจำนวนมากแสดงความสนใจจองซื้อ เหตุมั่นใจธุรกิจมีกระแสเงินมั่นคงเหมาะแก่การลงทุนระยะยาว ที่ปรึกษาเผยกระแสตอบรับดี ได้รับการตอบรับตามเป้าหมายจากกลุ่ม ผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของ BRR นักลงทุนทั่วไป นักลงทุนสถาบัน คาดเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นต้นเดือนสิงหาคมนี้

     นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลบุรีรัมย์ (BRRGIF) เปิดเผยว่า  BRRGIF ซึ่งเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้าชีวมวลกองแรกที่เปิดเสนอขายแก่นักลงทุนทั่วไปและจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป ได้กำหนดราคาสุดท้ายที่หน่วยละ 10.30  บาท ภายหลังจากได้รับผลตอบรับอย่างดีจากการสำรวจความต้องการซื้อ (Book Building) ของนักลงทุนสถาบัน โดยมีช่วงราคาเสนอขายที่ 9.90 – 10.40 บาท สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจของนักลงทุนสถาบันที่มีต่อศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของโรงไฟฟ้า

     “สาเหตุที่นักลงทุนสนใจจองซื้อกองทุน BRRGIF จากจุดเด่นของกองทุนที่มีความมั่นคงของกระแสรายได้ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก จากการเข้าลงทุนในสิทธิในรายได้สุทธิฯ ของโรงไฟฟ้าของ บจ. บุรีรัมย์พลังงาน (BEC) และ บจ.บุรีรัมย์เพาเวอร์ (BPC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ BRR โดยมีสัญญาขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นระยะเวลาประมาณ 11 ปี และ 18 ปี (สิ้นสุด 10 ส.ค. 2571 และ6 เม.ย. 2578) ตามลำดับ อีกทั้งความมั่นคงจากการเข้าทำสัญญาซื้อขายเชื้อเพลิงชีวมวลระยะยาวครอบคลุมระยะเวลาลงทุนของกองทุน BRRGIF โดยหลังจากนี้คาดว่า BRRGIF น่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประมาณต้นเดือนสิงหาคมนี้”

      ทั้งนี้ เงินจ่ายให้ผู้ถือหน่วยของ BRRGIF จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ เงินปันผลจากกำไรสุทธิของกองทุน และเงินจ่ายคืนจากการลดเงินลงทุนในรายได้สุทธิ(ลดทุน) ซึ่งผู้สอบบัญชีได้จัดทำประมาณการกำไรขาดทุนและการปันส่วนกำไรในรอบ 12 เดือน  ได้ประมาณการเงินปันผลของกองทุนไว้ที่ 6.5% และเงินจ่ายคืนจากการลดทุน 4.7% รวมมีเงินจ่ายให้แก่ผู้ถือหน่วยประมาณ 11.2% โดยคิดจากขนาดกองทุนที่ 3,717 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุน BRRGIF มีขนาดกองทุนที่  3,605  ล้านบาท จากราคาสุดท้ายที่กำหนดที่  10.30 บาทต่อหน่วย

       ด้านนายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BRR กล่าวว่า กองทุน BRRGIF ถือว่าเป็นกองทุนที่มีความมั่นคงทั้งทางด้านรายได้ จากการที่ BEC และ BPC ขายไฟฟ้าให้แก่ กฟภ. โรงละ 8 เมกะวัตต์ รวมถึงยังขายไอน้ำและไฟฟ้าส่วนที่เหลือบางส่วนให้แก่  บจ. โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ (BSF) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ BRR อีกด้วย ขณะเดียวกันก็ยังมีความมั่นคงในด้านวัตถุดิบ คือ กากอ้อย ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลของ BSF โดย BSF ได้ทำสัญญาในการซื้อไฟฟ้า และไอน้ำขั้นต่ำกับBEC และ BPC รวมไปถึงมีการจัดทำสัญญาในการส่งวัตถุดิบกากอ้อย ทั้งปริมาณขั้นต่ำและราคา เพื่อใช้สำหรับการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ ของ BEC และ BPC ไว้เรียบร้อยแล้ว ผลตอบแทนที่คาดว่ากองทุนจะได้รับจึงมีความผันผวนต่ำ และมีความมั่นคงสูง เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาวและได้รับผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ

     อนึ่ง กองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง ในอัตราไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิ และเงินปันผลที่ได้จากกองทุน BRRGIF ยังได้รับการยกเว้นภาษีเป็นเวลา 10 ปี นับแต่ปีภาษีที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน

 

BRR เผยโรดโชว์กองทุน BRRGIF สถาบันสนใจจองซื้อมากก่อนสรุปราคา IPO 24 ก.ค. พร้อมเข้าเทรด 7 ส.ค.นี้

    นายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บมจ.น้ำตาลบุรีรัมย์ (BRR)  เปิดเผยถึงรายละเอียดการเสนอขายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลบุรีรัมย์ (BRRGIF) ว่า บริษัทได้นำเสนอข้อมูล (โรดโชว์) แก่นักลงทุนสถาบันอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับที่ดี จากนักลงทุนสถาบันมีความสนใจจองซื้อกันจำนวนมาก โดยคาดว่าจะสามารถกำหนดราคาสุดท้ายในการเสนอขายหน่วยลงทุนให้กับนักลงทุนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ได้ในวันที่ 24 ก.ค.นี้ หลังจากได้กำหนดช่วงราคาเสนอขายIPO ระหว่าง 9.90-10.40 บาท/หน่วย ขณะที่คาดว่า BRRGIF น่าจะเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นได้ในวันที่ 7 ส.ค.60

       "จากการไปโรดโชว์แก่สถาบัน ก็พบว่า มีความต้องการซื้อเข้ามาเกินครึ่ง เนื่องจากกองทุนให้ผลตอบแทนที่สูง และมีความมั่งคง ขณะที่นักลงทุนทั่วไป หรือรายย่อย ก็มีความต้องการซื้อเข้ามาจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งเราคาดว่าจะสามารถสรุปราคาสุดท้ายได้ในวันที่ 24 ก.ค.นี้"นายอนันต์ กล่าว

        อนึ่ง BRRGIF จะขายหน่วยลงทุน IPO จำนวน 350 ล้านหน่วย โดยจะแบ่งขายตามโครงสร้างผู้ถือหน่วยลงทุน ได้แก่ BRR จำนวน 20% ,ผู้ถือหุ้นเดิม BRR จำนวน 13% ,นักลงทุนสถาบัน จำนวน 34% และนักลงทุนทั่วไป จำนวน 33%

     สำหรับจุดเด่นของกองทุน BRRGIF เป็นการนำเอาโรงไฟฟ้าชีวมวล ประเภทระบบผลิตพลังงานความร้อนและไฟฟ้าร่วมกัน (Cogeneration) ของบริษัท บุรีรัมย์พลังงาน จำกัด (BEC) และบริษัท บุรีรัมย์เพาเวอร์ จำกัด (BPC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ BRR มีกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ต่อแห่ง โดยมีการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยรับซื้อไฟฟ้าสูงสุดถึง 8 เมกะวัตต์ต่อแห่ง ในราคา FiT ที่ 4.54 บาท/หน่วย ตามอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ที่เหลือ 11 ปีและ 18 ปี ตามลำดับ

    อีกทั้ง ยังมีการกำหนดปริมาณรับซื้อไฟฟ้าขั้นต่ำจากโรงงานน้ำตาลของ BRR (BSF) ที่ 0.25 เมกะวัตต์ และกำหนดปริมาณรับซื้อไอน้ำความดันสูง ขั้นต่ำจาก BSF ที่ 55,488 ตันต่อปี และ 120,768 ตันต่อปีตามลำดับ และปริมาณรับซื้อไอน้ำความดันต่ำ ขั้นต่ำจาก BSF ที่ 189,840 ตันต่อปี

      ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวยังมีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง หรือจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 6.5% ต่อปีของกำไรสุทธิ และยังได้รับเงินทยอยคืนเงินต้น 4.7% ต่อปีของเงินลงทุน ตามอายุสัญญาการขายไฟฟ้าให้กับกฟภ. ประกอบผู้ถือหน่วยยังได้รับการยกเว้นภาษี 10% ตลอด 10 ปี

        อย่างไรก็ตาม BRRGIF จึงถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ จากเงื่อนไขสัญญาต่างๆ เช่น การกำหนดปริมาณรับซื้อไอน้ำขั้นต่ำและราคา การกำหนดชั่วโมงเดินโรงไฟฟ้าขั้นต่ำ เป็นต้น ,ป้องกันความเสี่ยงด้านราคาและปริมาณของวัตถุดิบ ด้วยการทำสัญญาระยะยาว เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาวัตถุดิบ ,มีความมั่งคงด้านวัตถุดิบ จากการวางแผนที่ครบวงจรของกลุ่ม BRR โดยการทำ Contract Farming กับชาวไร่ ขยายพื้นที่ปลูกอ้อย ให้ความรู้แก่เกษตรกร รวมถึงสนับสนุนด้านสินเชื่อแก่เกษตรกร และลดความผันผวนของค่าใช้จ่ายของกองทุนฯ ด้วยการทำสัญญาค่าใช้จ่ายแบบเหมา เพื่อช่วยลดความผัวผวนของต้นทุนการดำเนินงานและหระแสรายได้ของกองทุนฯ เป็นต้น

     นายอนันต์ กล่าวว่า นอกจากนี้ BRR ยังได้รับประโยชน์จากการเสนอขายกองทุนดังกล่าว โดยมีการรับรู้รายได้ของโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งเข้ามาล่วงหน้าจำนวนกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยบันทึกรายได้เข้ามาประมาณปีละ 445 ล้านบาท จนถึงปี 78 หรือตามอายุสัญญาการขายไฟฟ้าให้กับกฟภ. 18 ปี

BRR คาดรายได้-กำไรปี 60 นิวไฮ รับผลบวกน้ำตาลราคาสูง-โรงไฟฟ้าผลิตเต็มที่,สรุปพันธมิตรร่วมต่อยอดธุรกิจใน H2/60

      นายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ บมจ.น้ำตาลบุรีรัมย์ (BRR) คาดว่ารายได้และกำไรสุทธิปีนี้จะสามารถทำสถิติสูงสุดใหม่ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท  เนื่องจากได้มีการขายน้ำตาลในราคาที่ล็อคล่วงหน้า 100% ในระดับ 23 เซนต์/ปอนด์ นับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปัจจุบันที่มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 15-16 เซนต์/ปอนด์ และราคาเฉลี่ยปีก่อนที่ 16 เซนต์/ปอนด์ รวมถึงกำลังการผลิตก็เพิ่มสูงขึ้นเป็น 24,000 ตัน/วัน จากเดิม 16,000 ตัน/วัน อีกทั้งธุรกิจโรงไฟฟ้ายังสามารถเดินเครื่องได้เต็ม 100% บนกำลังการผลิตรวม 19.8 เมกะวัตต์ (MW)

     ส่วนความคืบหน้าของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งที่ 3 กำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว และพร้อมจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างการรอให้ภาครัฐเปิดรับซื้อไฟฟ้า เบื้องต้นคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ขณะเดียวกันบริษัทก็เตรียมเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งที่ 4 ซึ่งคาดว่าภายในปี 64 บริษัทจะมีโรงไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 4 แห่ง

     นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวน 3 ราย ที่จะเข้ามาต่อยอดในธุรกิจ ในโครงการน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เกรดพิเศษ และธุรกิจเอทานอล  ซึ่งคาดว่าในครึ่งปีหลังนี้น่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องของพันธมิตร และมีโอกาสเห็นความชัดเจนในปีนี้ได้อย่างน้อยจำนวน 1 ราย

    สำหรับ การแก้ไขพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ที่จะมีการลอยตัวราคาน้ำตาลในประเทศนั้น บริษัทไม่ได้มีความกังวลแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทมีการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศถึง 80% ซึ่งราคาอิงตามราคาตลาดโลกอยู่แล้ว ส่วนอีก 20% เป็นการขายภายในประเทศ โดยราคาปัจจุบันอยู่ที่ 20 บาท/กิโลกรัม

      อนึ่ง เมื่อปีที่แล้ว BRR มีกำไรสุทธิ 113.08 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายและการให้บริการ 4.58 พันล้านบาท

 อินโฟเควสท์

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!