หมวดหมู่: สภาพัฒน์ฯ สศช.

NESDBปรเมธ วมลศรรัฐอนุมัติเกือบ 7 พัน ล. ลงทุน สานโครงการบก ราง น้ำ อากาศ และหนุนอุตฯ ท่องเที่ยว

    บ้านเมือง : คนพ.เห็นชอบโครงการเร่งด่วนภายใต้แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกปี 2560 จำนวน 48 โครงการ วงเงินรวมเกือบ 7,000 ล้านบาท สานต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บก ราง น้ำ อากาศ และหนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

     นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (คนพ.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบโครงการสำคัญภายใต้แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ปี 2560-2564) โดยโครงการที่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการในปี 2560 จำนวน 48 โครงการ วงเงินรวม 6,992 ล้านบาท ใช้งบกลางปี 2560 เพื่อเริ่มลงทุนโครงการต่างๆ ให้มีความคืบหน้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

     โดยในปี 2560 ต้องเริ่มสร้างมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ช่วงต่อขยายพัทยา-มาบตาพุด รองรับรถได้ 72,000 คันต่อวัน คาดแล้วเสร็จในปี 2561 การขยายช่องทางจราจรทั้งหมายเลข 3, 33, 304, 314, 331 เชื่อมต่อกันในภาคตะวันออกระยะทาง 1,000 กิโลเมตร การสร้างรางรถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-ฉะเชิงเทรา การสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เฟส 3 และท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 รองรับรถยนต์วิ่งผ่านท่า 2.95 ล้านคันต่อปี ขนส่งสินค้า 18 ล้าน TEU ต่อปี การเริ่มก่อสร้างท่าอากาศยาน อู่ตะเภา ทั้งรันเวย์ อาคารที่พักผู้โดยสาร

    การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve เพื่อกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปัจจุบันได้มีนักลงทุนต่างชาติยื่นขอรับสิทธิ์การส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ประมาณ 18,354 ล้านบาท เพื่อเข้าไปลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยทุกหน่วยงานต้องเร่งระดมเข้าไปร่วมพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกให้บังเกิดผลโดยเร็วภายใน 1-3 ปี

      เพื่อเดินหน้าสร้างเมืองใหม่รองรับการลงทุนในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อปรับผังเมือง สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เชื่อมโยงกับการพัฒนาเมืองและสิ่งแวดล้อมเมือง การท่องเที่ยว สาธารณสุขและระบบบริการที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนวัตกรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กระทรวงดิจิตอลจะเข้ามาช่วยวางโครงสร้างพื้นฐานระบบข้อมูล อินเตอร์เน็ต รองรับการสร้างเมืองสมาร์ทซิตี้โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการเพิ่มเติมในเรื่องการสร้างความรับรู้ความเข้าใจ การเตรียมแผนรองรับผลกระทบ ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

     "โครงการสำคัญภายใต้แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกปี 60-64 มีมูลค่าโครงการรวม 7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการจัดสรรจากงบประมาณประจำปี 1.5 แสนล้านบาท จากงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ งบทุนภาคเอกชน และPPP"

      นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มอบหมาย สศช. ปรับปรุงแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ปี 2560-2564) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปีแผนงบประมาณ พร้อมทั้งระบุผลประโยชน์ที่จะได้รับให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน เนื่องจากต้องใช้งบลงทุนทั้งจากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ การร่วมลงทุนกับภาคเอกชนกว่า 700,000 ล้านบาท ในช่วงระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม รองรับการลงทุนในปี 2560 ประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท และในช่วงต้นปีหน้ารัฐบาลได้เตรียมเดินหน้าจัดโรดโชว์ครั้งใหญ่ในประเทศ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2560 เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

     "สำหรับ แผนงานใหม่ที่ประชุมได้เพิ่มเติมกระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประกอบด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะเข้ามาช่วยในด้านนวัตกรรมและการพัฒนาบุคลากร ในด้านแรงงานฝีมือและนักวิจัยเพื่อรองรับ EEC และกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้ามาช่วยในการพัฒนาระบบและเครือข่ายเพื่อรองรับด้านอีคอมเมิร์ซและทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยสร้างเมืองสมาร์ทซิตี้"

ลุยระเบียงเศรษฐกิจปี'60 งบ 6 พันล้าน 48 โครงการ

    แนวหน้า : นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (คนพ.) ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบโครงการสำคัญภายใต้แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ปี 2560-2564) โดยโครงการที่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการในปี 2560 จำนวน 48 โครงการ วงเงินรวม 6,992 ล้านบาท ใช้งบกลางปี 2560 เพื่อเริ่มลงทุนโครงการต่างๆ ให้มีความคืบหน้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

     โดยในปี 2560 ต้องเริ่มสร้างมอเตอร์เวย์หมายเลข 7 ช่วงต่อขยาย พัทยา-มาบตาพุด รองรับรถได้ 72,000 คันต่อวัน คาดแล้วเสร็จในปี 2561 การขยายช่องทางจราจร ทั้งหมายเลข 3,33,304,314,331 เชื่อมต่อกันในภาคตะวันออก ระยะทาง 1,000 กิโลเมตร การสร้างรางรถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-คลอง19-ฉะเชิงเทรา การสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เฟส 3 และท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 รองรับรถยนต์วิ่งผ่านท่า 2.95 ล้านคันต่อปี ขนส่งสินค้า 18 ล้าน TEUต่อปี การเริ่มก่อสร้างท่าอากาศยานอู่ตะเภา ทั้งรันเวย์ อาคารที่พักผู้โดยสาร

     นอกจากนี้ มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve เพื่อกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปัจจุบันได้มีนักลงทุนต่างชาติยื่นขอรับสิทธิ์การส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ประมาณ 18,354 ล้านบาท เพื่อเข้าไปลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยทุกหน่วยงานต้องเร่งระดมเข้าไปร่วมพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกให้บังเกิดผลโดยเร็วภายใน 1-3 ปี เพื่อเดินหน้าสร้างเมืองใหม่รองรับการลงทุนในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อปรับผังเมือง สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เชื่อมโยงกับการพัฒนาเมือง และสิ่งแวดล้อมเมือง การท่องเที่ยว สาธารณสุขและระบบบริการที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

     “ที่ประชุมได้มอบหมาย สศช. ปรับปรุงแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ปี 2560-2564) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปีแผนงบประมาณ พร้อมทั้งระบุผลประโยชน์ที่จะได้รับ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน เนื่องจากต้องใช้งบลงทุนทั้งจากภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ การร่วมลงทุนกับภาคเอกชนกว่า 700,000 ล้านบาท ในช่วงระยะเวลา 5 ปี รวมทั้งเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม รองรับการลงทุนในปี 2560 ประมาณ 6-7 พันล้านบาท และต้นปีหน้ารัฐบาลได้เตรียมจัดโรดโชว์ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ”

สภาพัฒน์ เผยจีดีพี Q3/59 โต 3.2% หนุนทั้งปีโตที่ระดับเดียวกัน ส่วนปี 60 คาดโต 3-4% รับการใช้จ่ายครัวเรือน - ลงทุนภาครัฐ และศก.โลกหนุน

     สภาพัฒน์ เผยศก.ไทย Q3/59 โต 3.2% จากไตรมาสก่อนขยายตัว 3.5% ส่วน 9 เดือนปี 59 โต 3.3% พร้อมคาดทั้งปีโต 3.2 % รับการใช้จ่ายครัวเรือน - การลงทุนภาครัฐหนุน ส่วนปี 60 คาดโต 3.0-4.0% ได้ศก.โลกเป็นปัจจัยหนุนสำคัญ  ฟากส่งออก Q3/59 ขยายตัว 0.4% กลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส หลังราคาสินค้าในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาด หนุนทั้งปี 59 กลับมาขยายตัว 0% จากเดิมคาดติดลบ 1.9% ส่วนปี 60 คาดขยายตัว 2.4%  ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปปี 59 อยู่ที่ 0.2% ส่วนปี 60 คาดอยู่ที่ 1-2% ด้านค่าเงินบาทปีนี้มองอยู่ที่ 35.3 บ./ดอลล์ ส่วนปี 60 คาดอ่อนค่าลงอยู่ที่ 35.3-36.3 บ./ดอลล์ หลังเฟดเตรียมขึ้นดอกเบี้ยธ.ค.นี้ 

     นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/2559 ขยายตัวได้ 3.2% ลดลงจากไตรมาส 2/2559 ที่ขยายตัวได้ 3.5% ขณะที่ 9 เดือนแรกขยายตัวได้ 3.3% เพิ่มขึ้นจาก 2.8% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับอานิสงส์จากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนขยายตัวดีต่อเนื่องที่ 3.5% เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และวันหยุดยาวช่วง 16-20 กรกฎาคมที่ผ่านมา 

  ขณะที่การส่งออกไตรมาส 3/2559 มีมูลค่า 54,907 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 0.4% เป็นบวกครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 45,934 ล้านดอลลาร์ ลดลง 2.4% จากการลดลงของราคานำเข้า 1% โดยเฉพาะราคาสินค้าหมวดน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม เป็นต้น 

   ส่วนแนวโน้มไตรมาส 4/2559 คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอตัวจากไตรมาส 3 เล็กน้อย เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวที่อาจชะลอตัวลงในระยะสั้น จากการที่นักท่องเที่ยวกังวลเรื่องการปฏิบัติตัวและกิจกรรมท่องเที่ยวในช่วงไว้ทุกข์ และผู้ประกอบการกังวลเกี่ยวกับทัวร์ศูนย์เหรียญ

    นายปรเมธี กล่าวว่า สำหรับปี 2559 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.2% โดยมีขับเคลื่อนจากการบริโภคของครัวเรือนที่ขยายตัวได้ 3% และการลงทุนภาครัฐขยายตัวได้ 10% ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ 0% เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่คาดว่าส่งออกทั้งปีจะติดลบ 1.9% ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ที่กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาส ราคาสินค้าในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาด 

   ด้านการนำเข้าปี 2559 คาดว่าจะติดลบ 5.2% จากเดิมคาดติดลบ 6.1% ด้านดุลการค้าคาดเกินดุล 36.6ล้านดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดคาดเกินดุล 45 พันล้านดอลลาร์ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้คาดอยู่ที่ 0.2% จากเดิมคาดที่ 0.1-0.6% 

   ขณะที่ปี 2560 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3-4% ขณะที่การส่งออกคาดขยายตัวได้ 2.4% ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ  ส่วนนำเข้าคาดขยายตัวได้ 4.5% ตามการนำเข้าเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของการส่งออกและการลงทุนภาครัฐและเอกชน  ดุลการค้าปี 2560 คาดเกินดุล 33.7 พันล้านดอลลาร์ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดคาดเกินดุล 42.1 พันล้านดอลลาร์ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดอยู่ที่ 1-2% สำหรับการบริโภคภาคเอกชนในปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.7% การอุปโภคภาครัฐบาลขยายตัว 2.1% 

    อย่างไรก็ตาม แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2560 มาจากการส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง การฟื้นตัวของการผลิตในภาคการเกษตร การลงทุนของภาครัฐที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง และแรงขับเคลื่อนจากการท่องเที่ยว ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ยังต้องจับตามอง คือ สถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป ปัญหาภาคการเงินและภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน เป็นต้น 

    ในส่วนของค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 2560 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 35.3-36.3 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากปีนี้ที่คาดเฉลี่ยที่ 35.3 บาทต่อดอลลาร์ ตามแนวโน้มการเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายธนาคารกลางสหรัฐในช่วงเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินบาทและสกุลเงินอื่นในภูมิภาคมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างช้าๆ ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบคาดอยู่ที่ 42-52 ดอลลาร์ต่อบาเรล สูงกว่าปีนี้ที่คาด 41 ดอลลาร์ต่อบาเรล 

   ด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ ประกอบด้วยอัตราเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2560 คาดว่าจะอยู่ที่ 94.4% ของวงเงินงบประมาณ เป็นเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 98% และเบิกจ่ายงบลงทุน 80% การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 80% การเบิกจ่ายงบเหลื่อมปี 75% การเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณภายใต้โครงการน้ำและถนนอื่นๆ ประมาณ 12,000 ล้านบาท ลดลง 47,661 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2559 

     “ปีหน้ายังต้องรักษาการเงินการคลังให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีความผิดปกติโลกมากระทบอะไรเป็นพิเศษ จึงไม่จำเป็นต้องออกมาตรการเพิ่มเพื่อดูแลนายปรเมธี กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!