หมวดหมู่: คอรัปชั่น

IODบณฑต นจถาวรCAC 7 บริษัทสมาชิกสมาคมวิจัยการตลาดประกาศเจตนารมณ์เป็นแนวร่วมต่อต้านทุจริต

   ดร.บัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) เปิดเผยว่า 7 บริษัทวิจัยชั้นนำที่เป็นสมาชิกของสมาคมวิจัยการตลาด (Thai Marketing Research Society หรือ TMRS) ได้ลงนามประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการ CAC พร้อมกันในการประชุมสามัญประจำปีของสมาคมเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2559

  “การเข้ามาประกาศเจตนารมณ์พร้อมกันเป็นกลุ่มเช่นนี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับเรื่องของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งหากสมาคมในภาคธุรกิจพร้อมใจกันส่งเสริมให้สมาชิกของสมาคมเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก CAC เหมือนกับสมาคมวิจัยการตลาด เครือข่ายธุรกิจสะอาดที่ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยจะขยายตัวอย่างรวดเร็วและกลายเป็นกระแสหลักในระบบธุรกิจไทยได้ในที่สุด” ดร. บัณฑิต กล่าว

    ในปัจจุบัน มีจำนวนบริษัทเอกชนที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ไม่รับ ไม่จ่าย ไม่ให้สินบนในการทำธุรกิจตามโครงการ CAC รวมทั้งสิ้น 748 บริษัท ซึ่งในจำนวนนี้มีบริษัทที่ผ่านการรับรองว่ามีนโยบายและมีแนวปฏิบัติป้องกันการทุจริตภายในองค์กรครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำหนดแล้ว 200 บริษัท โดย CAC กำหนดให้บริษัทที่ยื่นประกาศเจตนารมณ์ต้องดำเนินการให้ผ่านการรับรองภายใน 18 เดือน

     “ในการประชุมสมาชิกสามัญประจำปีของสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทยปีนี้ สมาชิกของสมาคมฯ 7 บริษัท ได้มีการร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตที่มีการริเริ่มโครงการโดย CAC เป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับการทุจริตภายในบริษัท และชักชวนให้บริษัทอื่นในกลุ่มธุรกิจ รวมถึง คู่ค้า และ ลูกค้าให้เข้ามาร่วมขยายเครือข่ายแนวร่วมปฏิบัติ” คุณเจอร์โรม เฮอร์วิโอ นายกสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าว และเสริมว่า “ความซื่อสัตย์มีคุณธรรมเป็นค่านิยมสำคัญของผู้ประกอบการวิจัยตลาดที่ต้องรักษาเพื่อนำมาซึ่งความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือของผลงาน และท้ายสุดเพื่อการพัฒนาวงการวิจัยตลาดต่อไป”

     CAC เป็นโครงการที่บริษัทเอกชนเข้าร่วมตามความสมัครใจ การประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการ CAC เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันและการจ่ายสินบนของบริษัท ส่วนบริษัทที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ CAC หมายถึงบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับโครงการ CAC และได้ผ่านกระบวนการประเมินตนเอง ที่มีการสอบทานและลงนามรับรองโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท หรือผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก ว่าบริษัทมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริตครบถ้วนตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการ CAC กำหนด ดังนั้น การรับรองโดยโครงการ CAC เป็นการรับรองว่าบริษัทมีนโยบาย และระบบป้องกันคอร์รัปชันและการให้สินบน ทั้งนี้ ไม่ได้รับรองพฤติกรรมของตัวบุคคลในบริษัท  

รายชื่อ 7 บริษัทสมาชิกของ TMRS ที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์กับ CAC ได้แก่

1) บริษัท อิปซอสส์ จำกัด

2) บริษัท ซีเอสเอ็น รีเสิร์ช จำกัด

3) บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด

4) บริษัท ทีเอ็นเอส (ไทยแลนด์) จำกัด

5) บริษัท เอคอร์น มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ รีเสิรช์ คอนซัลแทนส์ จำกัด

6) บริษัท อินโฟเสิร์ช จำกัด

7) บริษัท จีเอฟเค มาร์เก็ตไว้ส์ จำกัด

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

CAC เผย 7 บริษัทวิจัยชั้นนำ ประกาศเจตนารมณ์เป็นแนวร่วมต่อต้านทุจริต

   นายบัณฑิต นิจถาวร เลขาธิการ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) เปิดเผยว่า 7 บริษัทวิจัยชั้นนำที่เป็นสมาชิกของสมาคมวิจัยการตลาด (Thai Marketing Research Society หรือ TMRS) ได้ลงนามประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการ CAC พร้อมกันในการประชุมสามัญประจำปีของสมาคมเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2559

    การเข้ามาประกาศเจตนารมณ์พร้อมกันเป็นกลุ่มเช่นนี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับเรื่องของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งหากสมาคมในภาคธุรกิจพร้อมใจกันส่งเสริมให้สมาชิกของสมาคมเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก CAC เหมือนกับสมาคมวิจัยการตลาด เครือข่ายธุรกิจสะอาดที่ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยจะขยายตัวอย่างรวดเร็วและกลายเป็นกระแสหลักในระบบธุรกิจไทยได้ในที่สุด

       ในปัจจุบัน มีจำนวนบริษัทเอกชนที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ไม่รับ ไม่จ่าย ไม่ให้สินบนในการทำธุรกิจตามโครงการ CAC รวมทั้งสิ้น 748 บริษัท ซึ่งในจำนวนนี้มีบริษัทที่ผ่านการรับรองว่ามีนโยบายและมีแนวปฏิบัติป้องกันการทุจริตภายในองค์กรครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ CAC กำหนดแล้ว 200 บริษัท โดย CAC กำหนดให้บริษัทที่ยื่นประกาศเจตนารมณ์ต้องดำเนินการให้ผ่านการรับรองภายใน 18 เดือน

     ในการประชุมสมาชิกสามัญประจำปีของสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทยปีนี้ สมาชิกของสมาคมฯ 7 บริษัท ได้มีการร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริตที่มีการริเริ่มโครงการโดย CAC เป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับการทุจริตภายในบริษัท และชักชวนให้บริษัทอื่นในกลุ่มธุรกิจ รวมถึง คู่ค้า และ ลูกค้าให้เข้ามาร่วมขยายเครือข่ายแนวร่วมปฏิบัติ" คุณเจอร์โรม เฮอร์วิโอ นายกสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าว และเสริมว่า “ความซื่อสัตย์มีคุณธรรมเป็นค่านิยมสำคัญของผู้ประกอบการวิจัยตลาดที่ต้องรักษาเพื่อนำมาซึ่งความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือของผลงาน และท้ายสุดเพื่อการพัฒนาวงการวิจัยตลาดต่อไป

     CAC เป็นโครงการที่บริษัทเอกชนเข้าร่วมตามความสมัครใจ การประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมโครงการ CAC เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมต่อต้านคอร์รัปชันและการจ่ายสินบนของบริษัท ส่วนบริษัทที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ CAC หมายถึงบริษัทที่เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์กับโครงการ CAC และได้ผ่านกระบวนการประเมินตนเอง ที่มีการสอบทานและลงนามรับรองโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท หรือผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก ว่าบริษัทมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริตครบถ้วนตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการ CAC กำหนด ดังนั้น การรับรองโดยโครงการ CAC เป็นการรับรองว่าบริษัทมีนโยบาย และระบบป้องกันคอร์รัปชันและการให้สินบน ทั้งนี้ ไม่ได้รับรองพฤติกรรมของตัวบุคคลในบริษัท

     รายชื่อ 7 บริษัทสมาชิกของ TMRS ที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์กับ CAC ได้แก่ 1) บริษัท อิปซอสส์ จำกัด 2) บริษัท ซีเอสเอ็น รีเสิร์ช จำกัด 3) บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด 4) บริษัท ทีเอ็นเอส (ไทยแลนด์) จำกัด 5) บริษัท เอคอร์น มาร์เก็ตติ้ง แอนด์ รีเสิรช์ คอนซัลแทนส์ จำกัด 6) บริษัท อินโฟเสิร์ช จำกัด 7) บริษัท จีเอฟเค มาร์เก็ตไว้ส์ จำกัด

       อินโฟเควสท์

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!