หมวดหมู่: หอการค้า

CBธนวรรธน พลวชย copy


ม.หอการค้าฯ คาดระเบิดใต้กระทบจีดีพีปีนี้ 0.05-0.07% สูญเม็ดเงินท่องเที่ยว 6 พันลบ. แต่ครึ่งปีหลังมั่นใจจีดีพีขยายตัวเกิน 3.5%

     ม.หอการค้าฯ คาดเหตุระเบิดภาคใต้ กระทบต่อจีดีพีปีนี้ 0.05-0.07% คาดนักท่องเที่ยวหายกว่า 1.2 แสนคน - เสียหายกว่า 6 พันลบ. แต่มั่นใจจีดีพีไตรมาส 3-4/59 จะโตได้มากกว่าไตรมาส 2/59 ที่ขยายตัวได้ 3.5% ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ Q3/59 อยู่ที่ 101.9 ส่วน Q4/59 ดีขึ้นอยู่ที่ 103.8 รับภาคบริการ เกษตรฟื้นตัว ส่วนทั้งปี 59 อยู่ที่ 98.3 มองปี 60 ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 119.5 ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ขณะภาคธุรกิจมองที่ทิศทางค่าเงินบาทยังไม่ค่อยเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจ วอนภาครัฐดูแลไม่ให้ค่าเงินแข็งค่าเร็ว

    ขณะที่นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยแนวโน้มธุรกิจไทยปี 2559 และประเมินสถานการณ์ระเบิดภาคใต้ต่อธุรกิจไทยว่า  ด้านจำนวนนักท่องเที่ยว คาดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะหายไป 1.1% ของนักท่องเที่ยทั้งหมดที่คาดไว้ที่ 33.2 ล้านคน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะหายไปจากภาคใต้ 124,931 คน เม็ดเงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะหายไป 6,050.45 ล้านบาท โดยจากการประเมินพบว่า เหตุการณ์ระเบิดจะส่งผลกระทบต่อจีดีพีของไทยในปีนี้เพียง 0.05-0.07% หากเกตุการณ์ระเบิดไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก

     ส่วนเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อจากไตรมาส 2/2559 โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3-4/2559  มีโอกาสที่เศรษฐกิจ หรือ จีดีพีของไทยจะขยายตัวได้มากกว่า 3.5% สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นในภาคบริการที่คาดว่าจะอยู่ที่ 109.3 และไตรมาส 4 ที่ 106.2 ด้านการค้าดัชนีความเชื่อมั่นในไตรมาส 3 จะอยู่ที่ 91.6 และไตรมาส 4 ที่ 97.7 

     ส่วนจากการสำรวจภาคธุรกิจต่อผลกระทบของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวต่อระเบิดที่เกิดขึ้นในภาคใต้ โดยจากการสำรวจธุรกิจในภาคบริการโรงแรม 71% ร้านอาหาร 11.3% ทัวร์ 16.1% และอื่นๆ 1.6% พบว่า ผู้ประกอบการ 19.7% มองว่าเหตุระเบิดกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศมาก ผู้ประกอบการ 48.6% มองว่าเหตุระเบิดไม่กระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของคนในพื้นที่ ผู้ประกอบการ 44.4% มองว่าไม่กระทบต่อการใช้สอยโดยรวมของประเทศและ 30.1% มองว่าไม่กระทบต่อการท่องเที่ยวโดยรวมของจังหวัด 

    ขณะที่การระเบิดตามจุดต่างๆ จากนี้ไปอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการ 8.9% จะส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 8.9% และ 11.9% จะทำให้ยอดขายลดลง มองยอดจองห้องพักยอดจองโต๊ะอาหาร ผู้ประกอบการ 10.4% มองว่าจะเพิ่มขึ้น และ 20.5% มองว่าจะลดลง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ 60.6% มองว่าเหตุระเบิดจะส่งผลกระทยต่อการท่องเที่ยวเฉพาะภาคใต้เท่านั้น โดยระยะเวลาที่ได้รับผลกระทบประมาณ 2 เดือน และ 39.4% มองว่าจะกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ 

   สำหรับ สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ คือ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยว เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้น เร่งดำเนินการหาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เร่งดำเนินการชดเชยค่าเสียหาย กระตุ้นการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคัก 

  นอกจากนี้ ม.หอการค้ายังได้แยกผลกระทบด้านการบริโภค 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 คาดว่าเหตุการณ์จะมีผลต่อเนื่องนานถึง 2 เดือน โดยคาดว่ายอดขายของผู้ประกอบการลดลงเฉลี่ยวันละ 75.38 ล้านบาท มูลค่าเงินจะหายไปจากระบบ 4,523 ล้านบาท ส่วนอีกกรณีคือเหตุการณ์ต่อเนื่องนาน 1 เดือน คาดยอดขายของผู้ประกอบการลดลงเฉลี่ยต่อวัน 75.28 ล้านบาท เงินที่หายไปจากระบบ 2,336 ล้านบาท โดยจากสถานการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้น คาดว่าจะมีผลทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคในพื้นที่เป็นระยะเวลาไม่นาน 

   นายวชิร คูณทวีภพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยแนวโน้มธุรกิจไทยปี 2559 และประเมินสถานการณ์ระเบิดภาคใต้ต่อธุรกิจไทยว่า จากกาสำรวจผู้ประกอบการระหว่างวันที่ 9-14 สิงหาคมที่ผ่านมาจำนวน 600 ตัวอย่าง แบ่งเป็น เกษตร 9.4% การค้า 19.9% บริการ 34.2% การผลิต 36.4% แบ่งเป็นธุรกิจขนาดย่อม 43.6% ขนาดกลาง 23.1% และขนาดใหญ่ 33.3%

    โดยผู้ประกอบการ 41.5% มองว่ายอดขายในไตรมาส 3/2559 จะเพิ่มขึ้น และ 30.8% มองว่ายอดขายจะลดลง ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อ/ยอดการจอง ผู้ประกอบการ 36.8% มองว่าจะเพิ่มขึ้น และ 27.9% มองว่าจะลดลง ด้านความสามารถในการชำระหนี้มองว่า 31.7% มองว่าจะเพิ่มขึ้น ส่วน 33.6% มองว่าความสามารถในการชำระหนี้จะลดลง 

    ขณะที่ทั้งปี 2559 ผู้ประกอบการ 42.5% มองว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้น และ 31.2% มองว่ายอดขายจะลดลง ด้านต้นทุน 43.2% มองว่าจะเพิ่มขึ้น และ 5.1% มองต้นทุนปรับลดลง ด้านความสามารถในการชำระหนี้ 27% มองว่าจะเพิ่มขึ้น และ 30% มองว่าความสามารถในการชำระหนี้จะลดลง ส่วนในปี 2560 มองว่า 49.3% มองยอดขายเพิ่มขึ้น และ 30.2% มองยอดขายลดลง และความสามารถในการชำระหนี้มีถึง 36.9% และ 12.3% มองความสามารถในการชำระหนี้จะลดลง 

    ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการมองว่าในไตรมาส 3/2559 ดัชนีความเชื่อมั่นจะอยู่ที่ 101.9 และไตรมาส 4/2559 อยู่ที่ 98.3 โดยมองว่าสถานการณ์จะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลับสู่ภาวะปกติ หากไม่มีสถานการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น แต่ทั้งปียังต่ำกว่า 100 จากดัชนีในไตรมาส 1-2 ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยดัชนีความเชื่อมั่นและมีทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่องนั้น คือ ธุรกิจในภาคบริการ ในขณะที่ภาคอื่น คือ การค้า การเกษตร และอุตสาหกรรมจะเริ่มทยอยดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี และคาดว่าจะมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นในปี 2560 โดยมองอยู่ที่ 119.5 

   สำหรับ ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ คือ ผู้ประกอบการ 76.1% มองว่าปัจจัยด้านนวัตกรรม/เทคโนโลยีมีผลกระทบมาก ผู้ประกอบการ 74.8% มองปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคลมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต และ 73.1% ปัจจัยด้านการทำธุรกิจ เป็นต้น ส่วนในปี 2560 ผู้ประกอบการ 93.8% มองว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีผลมาก 91.6% มองปัจจัยด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี 

   “ปัจจัยที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ คือ การแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต รายได้ ทัศนคติ การส่งเสริมและพัฒนาแรงงานในประเทศให้มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร การกระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐฏิจ ส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกสินค้าไปยังนานาชาติ การจัดการและบริหารในด้านต้นทุนให้ต่ำลงและคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น”นายวชิร กล่าว 

    ด้านสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน ผู้ประกอบการ 40.8% มีความเห็นปานกลางในกรณีที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ขณะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเพียง 1.2% และผลกระทบมาก 29.1% ส่วยความเหมาะสมของระดับอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบัน ผู้ประกอบการมองว่า 52.6% มีความเหมาะสมน้อย ผู้ประกอบการ 10.2% มองมีความเหมาสมน้อยที่สุด และมีความเหมาะสมปานกลาง 27.9% ส่วนระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมผู้ประกอบการมองว่า ค่าเงินบาทควรอยู่ที่ระดับ 35.5 บาทต่อดอลลาร์และค่าเงินที่ไม่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจการส่งออก คือ 35.01 บาทต่อดอลลาร์ 

    สำหรับ ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ คือ อยากให้ทางการดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป ควรดูแลค่าเงินบาทให้ปรับไปในทิศทางเดียวกับคู่แข่ง สนับสนุนการลงทุนไปต่างประเทศ สกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงิน สนับสนุนเรื่องลดต้นทุนในการส่งออก 

   ทั้งนี้ หอการค้าไทยได้สอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 พบว่า ภาคเกษตร 55.2% รู้จักไทยแลนด์ 4.0 น้อย ภาคการค้า58.3% ภาคบริการ 48.5% ภาคอุตสาหกรรม 25.4% ส่วนข้อคิดเห็นให้กับรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนั้น อยากให้รัฐช่วยส่งเสริมและพัฒนาแรงงานในประเทศให้มีประสิทธิภาพ ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ผลิตและพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด ส่งเสริมและสร้างคาวมเชื่อมั่นแก่นักลงทุนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้ธุรกิจเพิ่มการส่งออกและขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศให้มากขึ้น เพิ่มการปล่อยแหล่งเงินทุนแก่ธุรกิจให้มากขึ้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!