หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 26


รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้

          1. รับทราบรายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (รายงานฯ ปี 2566) และรายงานการเงินรวมภาครัฐ (บทวิเคราะห์) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

          2. ให้หน่วยงานของรัฐตามบัญชีรายชื่อหน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานฯ ปี 2566 ส่งรายงานดังกล่าว พร้อมทั้งรายงานเหตุผลหรือปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข ให้กระทรวงเจ้าสังกัดและ กค. ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ และให้หน่วยงานของรัฐส่งรายงานการเงินประจำปีงบประมาณถัดไปให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้การจัดทำรายงานการเงินรวมภาครัฐมีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 

(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะครบกำหนดเสนอรายงานการเงินรวมฯ ในวันที่ 26 เมษายน 2567 ตามมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561)

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กค. รายงานว่า

          1. กค. ได้รวบรวมข้อมูลจากรายงานการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มาจัดทำรายงานฯ ปี 2566 รวมทั้งสิ้นจำนวน 8,436 หน่วยงาน จากจำนวนทั้งหมด 8,440 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 99.95 โดยมีหน่วยงานที่ไม่จัดส่งรายงานการเงิน จำนวน 4 หน่วยงาน ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หน่วย : ล้านล้านบาท

รายการบัญชี

ปีงบประมาณ

.. 2565

ปีงบประมาณ

.. 2566

การเพิ่ม/

(ลด)

รายละเอียด

สินทรัพย์รวม

43.24

44.67

1.43

สินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.31 รายการที่สำคัญ คือ (1) เงินลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์เผื่อขายซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และกองทุนประกันสังคม (2) ที่ดินราชพัสดุเพิ่มขึ้นจากการปรับใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบบัญชี ปี .. 2566 - 2569 และได้มีการปรับปรุงวิธีการประเมินที่ดินราชพัสดุให้มีความละเอียด ถูกต้อง ตรงตามการประกาศใช้บัญชีการประเมินราคาที่ดิน และ (3) สินทรัพย์ของสถาบันการเงินของรัฐเพิ่มขึ้นจากธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์

หนี้สินรวม

35.27

35.91

0.63

หนี้สินรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.79 รายการที่สำคัญ คือ (1) เงินกู้ยืมระยะยาวจากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ และ (2) หนี้สินของสถาบันการเงินของรัฐเพิ่มขึ้นจากธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์

สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุนรวม

7.96

8.76

0.80

เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.05

รายได้รวม

9.30

9.06

(0.24)

รายได้รวมลดลงร้อยละ 2.57 รายการที่สำคัญ คือ (1) รายได้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลดลงจากการตีราคาสินทรัพย์ต่างประเทศหรือเงินสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินสกุลบาท วันสิ้นปีงบประมาณ (2) รายได้จากการขายสินค้าและบริการลดลงจากส่วนต่างราคาซื้อขายผลิตภัณฑ์และผลกำไรจากการ สต๊อกน้ำมันที่ปรับลดลงของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ (3) รายได้จากการขายยาและเวชภัณฑ์ขององค์การเภสัชกรรมลดลงจากการคลี่คลายของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างไรก็ดี รายได้แผ่นดินเพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกรมสรรพากร และการจัดเก็บอากรขาเข้าของกรมศุลกากร ประกอบกับการชำระอากรขาเข้าย้อนหลังตามคำพิพากษาคดี

ค่าใช้จ่ายรวม

9.05

8.71

(0.35)

ค่าใช้จ่ายรวมลดลงร้อยละ 3.82 รายการที่สำคัญ คือ (1) ค่าใช้จ่ายจากการอุดหนุนอื่นและบริจาคลดลงจากค่าใช้จ่ายช่วยเหลือตามมาตรการของรัฐ และ (2) ต้นทุนขายสินค้าและบริการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และองค์การเภสัชกรรมลดลง

รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิรวม

0.24

0.35

0.11

 

 

         2. ผลการวิเคราะห์

         รายได้รวมของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คิดเป็นร้อยละ 2.57 เกิดจากการตีราคาสินทรัพย์ต่างประเทศหรือเงินสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินสกุลบาท ณ วันสิ้นปีงบประมาณของ ธปท. จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐโดยรวม ซึ่งหน่วยงานของรัฐได้บริหารจัดการสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่ราชพัสดุสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพย์สินของรัฐ ตลอดจนการบริหารหลักทรัพย์ของรัฐที่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบเงินลงทุน เป็นทรัพย์สินที่รัฐบาลมีไว้เพื่อนำผลกำไรที่เกิดขึ้นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับการบริหารหนี้สาธารณะมีการวางแผนชำระหนี้ให้เหมาะสมกับการบริหารสภาพคล่องหรือฐานะการคลังของแผ่นดินและไม่เป็นภาระการคลังในระยะยาว และเพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะมีความเสี่ยงต่ำภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม สำหรับการบริหารรายได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐโดยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ทำให้สามารถจัดเก็บและนำส่งรายได้เป็นไปตามเป้าหมายและการบริหารรายจ่ายมีการกำกับดูแลการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้การใช้จ่ายงบประมาณของแผ่นดินเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงทางการคลัง และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐควรพิจารณาดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้

              (1) ยกระดับและนำนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานภาครัฐเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน อันนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศภายใต้หลักการบริหารภาครัฐแนวใหม่ โดยพัฒนาการให้บริการภาครัฐที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัดแก่ประชาชนและผู้ประกอบการ

 (2) พัฒนาและทบทวนการบูรณาการกระบวนการทำงานของภาครัฐควบคู่กับการพัฒนาการบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลแบบเบ็ดเสร็จ โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของภาครัฐให้มีการกำกับดูแลที่เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนการทำงานและเชื่อมโยงการให้บริการแบบบูรณาการ

 (3) พัฒนาและทบทวนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต และเกิดความคล่องตัว ตลอดจนรองรับการดำเนินงานบนพื้นฐานของระบบดิจิทัลและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

         3. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีหน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด (ภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ) ตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 10 หน่วยงานประกอบด้วย (1) หน่วยงานของรัฐที่ส่งรายงานการเงินไม่ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด จำนวน 6 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ จำนวน 1 หน่วยงาน คือ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี) รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 หน่วยงาน คือ บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด และ อปท. จำนวน 4 หน่วยงาน เช่น เทศบาลตำบลเกษไชโย จังหวัดอ่างทอง เทศบาลตำบลห้วยพลู จังหวัดนครปฐม และ (2) หน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงิน จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ จำนวน 1 หน่วยงานคือ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และ อปท. จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ เทศบาลตำบลเกาะขนุน จังหวัดฉะเชิงเทรา องค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง จังหวัดสุโขทัย และองค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด จังหวัดสมุทรสาคร

         ทั้งนี้ ข้อมูลเปรียบเทียบการจัดส่งรายงานการเงินระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สรุปได้ ดังนี้

 

หน่วยงาน

ปี 2566

ปี 2565

ส่งรายงานการเงิน

ไม่ทันภายใน

ระยะเวลาที่กำหนด

ไม่ส่งรายงาน

การเงิน

ส่งรายงานการเงิน

ไม่ทันภายใน

ระยะเวลาที่กำหนด

ไม่ส่งรายงาน

การเงิน

(1) หน่วยงานของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1

1

12

1

(2) รัฐวิสาหกิจ

1

-

6

-

(3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4

3

15

17

รวม

6

4

33

18

รวมหน่วยงานของรัฐ

10

51

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 18 เมษายน 2567

 

 

4550

Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

Banner GPF720x100 PX

MTL 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!